Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84042
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรนุช เตชาธาราทิพย์-
dc.contributor.advisorพนิดา ธัญญศรีสังข์-
dc.contributor.advisorชุติมา ไตรรัตน์วรกุล-
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ เผื่อนสุริยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-02-05T03:26:07Z-
dc.date.available2024-02-05T03:26:07Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84042-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการศึกษาในห้องปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการคืนกลับแร่ธาตุบนรอยผุ จำลองชั้นเนื้อฟันของการฉายแสงและไม่ฉายแสงภายหลังการทาสารละลายซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) ที่ ระยะเวลาแตกต่างกัน โดยนำชิ้นฟันตัวอย่างที่ได้จากการตัดแบ่งฟันกรามแท้แต่ละซี่เป็น 4 ชิ้นมาสร้างรอยผุ จำลองบนชั้นเนื้อฟันและสุ่มเข้า 4 กลุ่มทดลองคือ กลุ่ม SDF60 (n=10) ทา SDF 60 วินาที กลุ่ม SDF10 (n=10) ทา SDF 10 วินาที กลุ่ม SDF60+LC (n=10) ทา SDF 60 วินาทีร่วมกับการฉายแสงเป็นเวลา 20 วินาที และ กลุ่ม SDF10+LC (n=10) ทา SDF 10 วินาทีร่วมกับการฉายแสงเป็นเวลา 20 วินาที จากนั้นนำมาผ่านสภาวะ ช่องปากจำลองที่มีการจำลองสภาวะการสูญเสียและคืนกลับแร่ธาตุด้วยเชื้อแบคทีเรียเป็นเวลา 7 วัน ชิ้นฟัน ตัวอย่างก่อนทดลองและหลังทดลองถูกนำมาสแกนด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตร (MicroCT) เพื่อวิเคราะห์ค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความลึกรอยผุเฉลี่ย (%LD change) และร้อยละการเปลี่ยนแปลง ความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ย (%MD change) ผลการทดลองพบว่า ปัจจัยการฉายแสงและปัจจัยระยะเวลาในการ ทาสารมีผลต่อประสิทธิภาพในการคืนกลับแร่ธาตุของ SDF แต่ทั้งสองปัจจัยไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน (p=0.388 และ p=0.576) เมื่อเปรียบเทียบผล %LD change และ %MD change พบว่ากลุ่มที่มีการฉายแสง (กลุ่ม SDF60+LC และ SDF10+LC) ส่งเสริมให้สาร SDF มีประสิทธิภาพในการคืนกลับแร่ธาตุสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ฉายแสง (กลุ่ม SDF60 และ SDF10) (p=0.008 และ p=0.026) ส่วนกลุ่มที่ทา SDF เป็นเวลา 60 วินาที (กลุ่ม SDF60 และ SDF60+LC) มีประสิทธิภาพในการคืนกลับแร่ธาตุดีกว่ากลุ่มที่ทา SDF เป็นเวลา 10 วินาที (กลุ่ม SDF10 และ SDF10+LC) (p=0.003 และ p<0.001) กลุ่ม SDF60 มีค่า %LD change และ %MD change แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่ม SDF10 (p=0.004 และ p=0.020) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่ม SDF10+LC (p=0.369 และ p=0.500) สรุปได้ว่าการฉายแสงภายหลังการทา SDF เป็นเวลา 10 วินาทีสามารถช่วยลดระยะเวลาในการทา สารลงได้ โดยที่ประสิทธิภาพในการคืนกลับแร่ธาตุไม่แตกต่างจากการทาสารเป็นเวลา 60 วินาที-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to determine the efficacy of remineralization on artificial dentin caries by light-curing on silver diamine fluoride (SDF) at different times. Tooth samples obtained from the division of each permanent molar into 4 dentin slices. The dentin slices were created as artificial dentin caries lesions and randomly assigned into 4 groups: SDF60 group (n=10), applied SDF for 60 seconds (s), SDF10 group (n=10), applied SDF for 10s, SDF60+LC group (n=10), applied SDF for 60s with light-curing for 20s and SDF10+LC group (n=10), applied SDF for 10s with light-curing for 20s. The samples underwent bacterial pHcycling for 7 days. Baseline and post-pH cycling specimens were scanned using microcomputed tomography (micro-CT) for analysis of the percentage of mean lesion depth change (%LD change) and the percentage of mean mineral density change (%MD change). The results showed that both the light-curing factor and the application time factor influenced the remineralization efficiency of SDF but these two factors did not interact (p=0.388 and p=0.576). Based on the result of %LD change and %MD change, The light-curing SDF (SDF60+LC and SDF10+LC groups) resulted in significantly higher remineralization efficiency than the no lightcuring SDF (SDF60 and SDF10 groups) (p=0.008 and p=0.026). 60s SDF application groups (SDF60 and SDF60+LC groups) demonstrated significantly higher remineralization than 10s SDF application groups (SDF10 and SDF10+LC groups) (p=0.003 and p<0.001). The SDF60 group had significant differences in %LD change and %MD change with SDF10 group (p=0.004 and p=0.020), but did not differ from SDF10+LC group (p=0.369 and p=0.500). It was concluded that after light-curing on 10s SDF application, the application time was reduced and the remineralization efficiency was similar to that of 60s SDF application.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationDentistry-
dc.subject.classificationHuman health and social work activities-
dc.subject.classificationDental studies-
dc.titleผลการคืนกลับแร่ธาตุบนรอยผุชั้นเนื้อฟันโดยการฉายแสงบนซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์-
dc.title.alternativeThe remineralization effect on dentin carious lesions using a light-cured silver diamine fluoride-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็ก-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:FACULTY OF DENTISTRY - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270001432.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.