Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84304
Title: การประยุกต์ใช้แบบจำลองเสมือนจริงในงานก่อสร้าง
Other Titles: Application of virtual model utilization for construction
Authors: วุฒิภัทร วัชรพันธ์
Advisors: นพดล จอกแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจําลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงมาใช้ในการก่อสร้าง ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงงานในโครงการก่อสร้าง จึงทําการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีการจําลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เพื่อประยุกต์ใช้ในการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงงานในโครงการก่อสร้าง โดยสมมติฐานของงานวิจัยนี้คือ ความรู้สึกของผู้ทดสอบที่วัดโดยใช้เทคโนโลยีการจําลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและสภาพแวดล้อมการก่อสร้างจริงก็ไม่ต่างกัน สมมติฐานได้รับการทดสอบโดยความรู้สึกของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้แบบสอบถามที่เปรียบเทียบระหว่างความรู้สึกที่วัดโดยเทคโนโลยีการจําลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง กับสภาพแวดล้อมจริง กรณีศึกษา 3 กรณี ในโครงการก่อสร้างจริงถูกนํามาใช้ในการทดลอง ผู้ตอบแบบสอบถาม 20 คนได้รับเลือกให้เยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างและเปรียบเทียบความรู้สึกระหว่างการใช้เทคโนโลยีการจําลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง กับสถานการณ์จริง จากนั้นนําการวิเคราะห์ทางสถิติมาวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความรู้สึกของผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้เทคโนโลยีการจําลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง และสถานการณ์จริงในโครงการก่อสร้างสําหรับทั้งสองกรณีศึกษาไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนําเทคโนโลยีการจําลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงมาประยุกต์ใช้เพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างได้
Other Abstract: The objective of this research is to propose an application of Virtual  Environment (VE) technology in the construction focused for change orders in the construction project.The possibility of Virtual Environment technology to apply for reducing the problems of change order in the construction project was studied.The assumption of this research is the feeling of users measured by using VE applications and the real situations are not different.The assumption was tested by the respondents’  feeling using the questionnaire that compared between the feeling measured by VE applications and the real situations.The three cases studies in the real construction project were used for the experiment.The 20 respondents were selected to visit the construction site and compared the feeling between using VE application and the real situations.The statistical analysis was applied to analyze the data from the questionnaires.The results of the research show that the feeling of the respondents who applied the VE applications and the real situations in the construction project for both case studies are not significant difference.Therefore, it can be concluded that the VE technology is possibly applied in order to reduce the problems of change orders in the construction project.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84304
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF ENGINEERING - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170488921.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.