Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84371
Title: การย้อมสีอินดิโกบนเส้นด้ายฝ้ายโดยใช้สารละลายหลังการลอกแป้งด้วยอะไมเลสและการฟอกสีผ้าเดนิมด้วยเซลลูเลส
Other Titles: Indigo dyeing on cotton yarn using spent solutions from amylase desizing and cellulase-stonewashing of denim fabric
Authors: จิตาภัค ชูดวง
Advisors: อุษา แสงวัฒนาโรจน์
ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ทดลองนำน้ำเสียจากการลอกแป้งผ้าเดนิมดิบด้วยเอนไซม์อะไมเลสร่วมกับเอนไซม์กลูโคอะไมเลส (น้ำเสียมีกลูโคส) และการนำน้ำเสียจากการฟอกสีผ้าเดนิมด้วยเอนไซม์เซลลูเลส (น้ำเสียมีสีอินดิโก) มาใช้ในการรีดิวซ์และย้อมสีอินดิโกลงบนเส้นด้ายฝ้าย โดยเริ่มแรกผ้าเดนิมดิบจะผ่านการลอกแป้งด้วยเอนไซม์อะไมเลสร่วมกับเอนไซม์กลูโคอะไมเลส น้ำเสียจากการลอกแป้งถูกวิเคราะห์หาความเข้มข้นของกลูโคสในน้ำเสีย หลังจากนั้นผ้าเดนิมที่ผ่านการลอกแป้งแล้วจะถูกนำมาฟอกสีด้วยเอนไซม์เซลลูเลสร่วมกับหินกรวด น้ำเสียจากการฟอกสีถูกนำมาวิเคราะห์ค่าความเข้มข้นของสีอินดิโกในน้ำเสีย รีดิวซ์สีในน้ำเสียจากการฟอกสีโดยใช้โซเดียมไดไทโอไนต์ กลูโคส และน้ำเสียจากการลอกแป้ง (น้ำเสียมีกลูโคส) จากนั้นน้ำเสียจากการฟอกสีที่ถูกรีดิวซ์จะถูกนำไปย้อมเส้นด้ายฝ้าย เส้นด้ายย้อมสีถูกวิเคราะห์หาค่าความเข้มสีและเฉดสี และร้อยละของการผนึกสีบนเส้นด้าย ผลการวิจัยพบว่า เส้นด้ายฝ้ายย้อมด้วยสีที่ถูกรีดิวซ์โดยโซเดียมไดไทโอไนต์และกลูโคส (ณ ภาวะที่ทำให้สารละลายสีย้อมมีค่าความต่างศักย์ออกซิเดชันและรีดักชัน (โออาร์พี) ที่เหมาะสม คือ มีค่า -600 ถึง -700 mV) มีเฉดสีน้ำเงินโดยมีค่าความเข้มสี 1.41 และ 0.74 และการผนึกสีบนเส้นด้าย 74.8% และ 73.8% ตามลำดับ โดยเส้นด้ายย้อมด้วยสีที่ถูกรีดิวซ์ด้วยโซเดียมไดไทโอไนต์มีสีน้ำเงินที่เข้มกว่าเส้นด้ายย้อมด้วยสีที่ถูกรีดิวซ์ด้วยกลูโคสประมาณ 1 เท่า แต่ต่างมีการผนึกสีใกล้เคียงกัน (74-75%) ในขณะที่การศึกษาเบื้องต้นของการใช้น้ำเสียจากการลอกแป้ง (น้ำเสียมีกลูโคส) เป็นสารรีดิวซ์สีในน้ำเสียจากการฟอกสี (แทนการใช้โซเดียมไดไทโอไนต์และการใช้กลูโคสเป็นสารรีดิวซ์สี) เส้นด้ายหลังย้อมมีเฉดสีน้ำเงินอ่อนมาก เนื่องจากค่าโออาร์พีของสารละลายสีมีค่าสูงเกินไป อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้พบว่า สามารถนำน้ำเสียจากการลอกแป้งและน้ำเสียจากการฟอกสีมาหมุนเวียนใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมสีเส้นด้ายฝ้าย แต่ยังต้องปรับปรุงกระบวนการลอกแป้งให้น้ำเสียจากการลอกแป้งมีกลูโคสเกิดจากการลอกแป้งมากขึ้น อาจด้วยการเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์กลูโคอะไมเลสที่ใช้ในการลอกแป้ง หรือเติมกลูโคสเพิ่มลงไปในน้ำเสียจากการลอกแป้ง เพื่อลดค่าความต่างศักย์ออกซิเดชันและรีดักชันจนถึงค่าที่เหมาะสม คือ ต่ำกว่า -600 mV ลงไป จะทำให้สามารถนำน้ำเสียจากทั้งสองส่วนของการผลิตผ้าเดนิม (น้ำเสียจากการลอกแป้งและจากการฟอกสีผ้าเดนิม) มาหมุนเวียนใช้ต่อได้อย่างสมบูรณ์แบบ
Other Abstract: This research showed an attempt to reuse wastewater from amylase/glucoamylase desizing and wastewater from cellulase biostoning of denim fabric as raw materials for cotton yarn dyeing. In the research, wastewater from desizing was collected and was analyzed for glucose content. Similarly, wastewater from biostoning was analyzed for indigo dye content released from denim fabric. Indigo dye in wastewater from biostoning was reduced (into soluble dye) using sodium dithionite and glucose as reducing agents at optimal ORP value (oxidation-reduction potential) of -600 to -700 mV and the reduced wastewater was used for cotton yarn dyeing. Dyed yarn from sodium dithionite reduction showed deeper shade of blue than that from glucose reduction in which the former yarn contained its color strength of 1.41 while the latter contained 0.74, but they both showed similar % dye fixation between 74-75%. In addition to sodium dithionite and glucose reductions of indigo dye in wastewater from biostoning, this indigo dye in wastewater was also reduced with wastewater from enzymatic desizing (containing glucose) and then was used for cotton yarn dyeing. Unfortunately, the amount of glucose found in enzymatic desizing wastewater was too low for indigo dye reduction. This led to too high ORP value -325 mV during the dye reduction and the pale blue shade of dyed cotton yarn after dyeing. However, this experiment showed that it was possible to reuse both wastewaters from enzymatic desizing and biostoning of denim fabric for cotton dyeing.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84371
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF SCIENCE - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5972163723.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.