Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84514
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอินทาวุธ สรรพวรสถิตย์-
dc.contributor.authorธนเสฏฐ์ สิงหะสุริยะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2024-02-05T11:02:11Z-
dc.date.available2024-02-05T11:02:11Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84514-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractสารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงจากโปรตีนเวย์ เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคตระหนักถึงการดูแลสุขภาพมากขึ้นจากหลายปัจจัย ดังนั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นโอกาสในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคดังกล่าว รวมถึงความสนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงจากโปรตีนเวย์ด้วยเทคโนโลยี จึงนำงานวิจัยดังกล่าวมาศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อประเมินศักยภาพตลาดและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่ให้ความสนใจในด้านสุขภาพจำนวน 15 คน และสำรวจการยอมรับในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงจากโปรตีนเวย์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และนำผลการศึกษาดังกล่าวมาออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงจากโปรตีนเวย์เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ จากผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่ากลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายคาดหวังให้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงคือต้องการผลลัพธ์ที่ได้จากการรับประทาน ราคาที่จับต้องได้ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จากการสำรวจการยอมรับในผลิตภัณฑ์ พบว่าผู้บริโภคมีความสนใจในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงจากโปรตีนเวย์ร้อยละ 81.3 ประเด็นสำคัญในการพิจารณาในการออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดคือ ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว และความสะดวกสบายด้านสถานที่จัดจำหน่าย สำหรับผู้บริโภคเลือกซื้อเครื่องดื่มโปรตีนเวย์เพื่อต้องการสร้างกล้ามเนื้อเป็นหลัก การพิจารณาในการออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดคือ ชนิด และคุณภาพของโปรตีนเวย์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ เนื่องจากผู้บริโภคเน้นผลลัพธ์ที่ได้จากการทานโปรตีนเวย์ จากการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินจากการจ้างผลิต (OEM) แทนการจัดตั้งโรงงานผลิต โดยมีเงินลงทุนเริ่มต้น 2,100,000 บาท ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในกรณีปกติ (Base case) ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในราคา 25 บาท โดยผลการคาดคะเนส่วนแบ่งตลาดที่ร้อยละ 5 พบว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากธุรกิจสามารถสร้างกำไรซึ่งมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของธุรกิจ (NPV) เป็นบวก เท่ากับ 31,527,319 บาท และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (IRR) เป็นบวก เท่ากับ 145.5%  และมีระยะเวลาคืนทุนของธุรกิจ (Payback Period) เท่ากับ 1.38 ปี จึงสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงจากโปรตีนเวย์มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์-
dc.description.abstractalternativeThis thesis aimed to study the commercial feasibility of a high-protein jelly drink made from whey protein because consumers currently aware of their health due to several factors. For this reason, the researcher realized an opportunity to respond to consumer needs and also interested in developing a high-protein jelly drink from whey protein. Therefore, the research was studied for its commercial feasibility to assess marketing capability and to develop product prototype through an in-depth interview with 15 samples who paid attention to health care and also by a survey on the acceptance of a high-protein jelly drink made from whey protein from 400 samples. The results obtained were applied to design marketing strategies that suited the high-protein jelly drink made from whey protein for commercial extension.  According to the results of the in-depth interview, consumer expectations of the high-protein jelly drink to describe outcomes from having the product, a reasonable price, and product quality. According to the acceptance of the product, it was found that most consumers (81.3%) interested in high-protein jelly drink made from whey protein. The key issues for consideration in designing marketing strategies from consumers who buy whey protein drink for building muscles were easy distribution channels, easy to access, and convenience. Therefore, the key issues for consideration in designing marketing strategies were the type and received quality of whey protein because consumers focused on the outcomes of taking whey protein. According to the results of financial feasibility from hiring OEM instead of plant establishment, with the initial capital at 2,100,000 Baht, under the analysis of benefits in the base case that the product was sold at 25 Baht with the predicted market share at 5%, it was found that the product was worth investment. That was because the business could make a profit, with a current positive NPV of 31,527,319 baht, a positive IRR of 145.5%, and a payback period of 1.38 years. Therefore, it can be concluded that the high-protein jelly drink made from whey protein is feasible for further commercial development.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationBusiness-
dc.subject.classificationManufacturing-
dc.subject.classificationMarketing and advertising-
dc.titleการศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์สำหรับเครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงจากโปรตีนเวย์-
dc.title.alternativeFeasibility study for commercialization of high-protein jelly drinks from whey protein-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480137820.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.