Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84742
Title: แนวทางการพัฒนากำลังพลกรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ในรูปแบบ digital headquarters ในปี พ.ศ.2570
Other Titles: Potential development guidelines for the department of border affairs, Royal Thai Armed forces headquarters, personnel in supporting digital transformation of the Royal Thai Armed Forces headquarters to digital headquarters in 2027
Authors: ทุติยาภรณ์ อินทเวช
Advisors: ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง  แนวทางการพัฒนากำลังพลกรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่  ในรูปแบบ DIGITAL HEADQUARTERS ในปี พ.ศ.2570 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ว่าปัจจุบันของกำลังพลของกรมกิจการชายแดนทหารมีรูปแบบการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานตามแนวความคิด DIGITAL Headquarters หรือไม่ หากไม่ปัจจัยใดที่เป็นอุปสรรคที่ส่งผลให้กำลังพลไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่กำหนดไว้ และเพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนากำลังพลให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในรูปแบบ  DIGITAL Headquarters  การวิจัยดำเนินการลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์ (Interview) โดยใช้คำถามกึ่งโครงสร้าง จากผู้ที่ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ระดับผู้บริหารระดับสูง ระดับผู้บริหารระดับกลาง ระดับผู้บริหารระดับต้น และ ระดับผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 10 ราย ผลการวิจัยพบว่า กำลังพลกรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ยังไม่สามารถปฏิบัติงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับแนวคิด Digital Headquarters ของกองบัญชาการกองทัพไทย เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการใช้งานระบบดิจิทัล ดังนั้น จึงควรมีการวางแผนการพัฒนากำลังพลและจัดกำลังพลเข้ารับการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานตามแนวทาง DIGITAL Headquarters ให้สอดคล้องงานที่ได้รับการปฏิบัติงานจริง จัด Workshop ให้แก่กำลังพลผู้ปฏิบัติงานเพื่อสร้างความชำนาญในการใช้งานระบบดิจิทัล เพื่อรองรับการปฏิบัติงานในรูปแบบ Digital Headquarters ในปี พ.ศ.2570
Other Abstract: This research aims to 1) compare the current work pattern of the actve personnel of the Department of Border Affaris, Royal Thai Armed Forces Headquarters with the future work pattern designated in Royal Thai Armed Forces’ Digital Headquarters concept paper. If the current work pattern has not corresponded to the concept, study the causes and 2) generate the potential suggestion and guidelines for personnel development. The Qualitative methodology was used in the research. The research design was non-experimental research. The researcher analyze a lot of literature reviews on the organization that accomplish the digital transformation and  Interview with 10 samples who are currently the active officers in the department both executive-level and operational-level officers. This research showed that, though a large number of digital equipments and programs were procured by the department, the current work pattern of the personnel has not corresponded with the concept due to the lack of understanding of the potential work pattern in the incoming Digital age and the inability to employ digital devices and programs. To solve these problems, the department must design the Digital skills and Digital literacy development plans which are based on the real-life and potential work pattern. Courses and Workshops for the personnel should be frequently conducted in order to increase the digital proficiency of the personnel.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84742
Type: Independent Study
Appears in Collections:FACULTY OF POLITICAL SCIENCE - INDEPENDENT STUDY

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6482021024.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.