Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84770
Title: การพัฒนาพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสมือน สำหรับการเยี่ยมชมพร้อมกันหลายราย
Other Titles: Development of virtual Chulalongkorn University museum for multiuser
Authors: ญาดา อังสนานนท์
Advisors: ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้สร้างพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโลกเสมือนจริงสำหรับการใช้งานบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ครอบคลุมตัวอาคารทั้งหลัง และสร้างนิทรรศการในโลกเสมือนที่จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ใกล้เคียงกับนิทรรศการจริงที่จัดแสดงอยู่บนชั้น 4 ของอาคาร ในระบบที่สร้างขึ้นนี้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้พร้อมกันได้หลายราย โดยผู้ใช้แต่ละรายสามารถสร้างสรรค์ตัวละครใหม่ ๆ ที่หลากหลายเพื่อแสดงความเป็นตัวตนบนโลกเสมือนได้อย่างอิสระและมีเอกลักษณ์ที่เป็นของตนเอง ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองของกล้องให้มีระยะใกล้ไกลได้ช่วยให้อ่านเนื้อหาและข้อความต่าง ๆ ได้ และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง กระโดด หรือแม้กระทั่งการเทเลพอร์ตไปยังจุดต่าง ๆ ภายในมีการนำเสนอความรู้ทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบของ เสียงบรรยาย รูปภาพ วีดิทัศน์ และข้อความ ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันกับผู้อื่นได้ตลอดทุกช่วงเวลาโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน ผลการทดลองในเบื้องต้นกับผู้ใช้งานที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีโลกเสมือนพบว่าผู้ใช้งานรู้สึกตื่นเต้นและพึงพอใจกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับจากการท่องไปในโลกพิพิธภัณฑ์เสมือนแห่งนี้ ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความสมจริงและเข้าถึงได้ง่าย จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีโลกเสมือนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นมิติใหม่ของการเผยแพร่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อย่างกว้างขวาง
Other Abstract: This thesis implements Chulalongkorn University Museum in a virtual world for use on computer devices. It covers the entire building and presents the exhibition in a virtual world that displays stories related to the history of Chulalongkorn University, similar to the real exhibition on the 4th floor of the building. Our system can support multiple users simultaneously, in which each user can create a variety of new characters to freely express themselves in the virtual world and have their own identity. Visitors can change the camera's view to be close-up or far away, allowing them to read content and messages and move freely whether walking, running, jumping, or even teleporting to different locations. Historical knowledge is presented in the form of audio commentary, images, videos, and text, allowing visitors to learn about history and important events of Chulalongkorn University together with others at any time without having to be in the same place. Initial results of the experiment with users who were not familiar with virtual world technology revealed that users were excited and satisfied with the new experience gained from navigating the virtual museum world mainly due to its realism and ease of access. The outcome of this thesis work serves as an inspiration to the future development of a new dimension in disseminating the historical stories of Chulalongkorn University at global scale.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84770
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF ENGINEERING - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370455921.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.