Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9013
Title: ระบบ Currency Board และระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมกับประเทศไทยภายใต้สภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศและสภาวะเศรษฐกิจ และการเงินโลกในปัจจุบัน
Other Titles: Currency board system and the optimal exchange rate regime for Thailand under the current internal and external economic circumstances
Authors: ไตรรัตน์ บุญราช
Advisors: ชโยดม สรรพศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Chayodom.S@chula.ac.th
Subjects: อัตราแลกเปลี่ยน
ปริวรรตเงินตรา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบต่าง ๆ และได้อธิบายถึงความเหมาะสมและผลกระทบในการนำระบบ Currency Board มาใช้ในประเทศไทย และเสนอแนะว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใดที่เหมาะสมกับประเทศไทยภายใต้สภาวะเศรษฐกิจและการเงินภายในประเทศ และสภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลกในปัจจุบัน โดยจะใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง และใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนา มาใช้ศึกษา และอธิบายถึงระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยผลการศึกษาพบว่า ระบบ Currency Board แม้จะเป็นระบบที่น่าเชื่อถือ และสามารถดำรงต่อไปได้ในอนาคต และมีผลการดำเนินงานที่ดีในประเทศที่เคยนำระบบนี้มาใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น ฮ่องกง, อาร์เจนตินา, เอสโทเนีย, ลิธัวเนีย เป็นต้น โดยมีจุดเด่นตรงที่เป็นระบบที่สามารถแก้ไขปัญหาเสถียรภาพภายในประเทศได้ดี โดยเฉพาะในด้านการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แต่เนื่องจากระบบ Currency Board เป็นระบบตรึงค่าเงินแบบเข้มงวด ทำให้ไม่สามารถใช้นโยบายการเงินได้อย่างอิสระ และสร้างต้นทุนที่สูงแก่ระบบเศรษฐกิจในการรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและสภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลกในปัจจุบัน ที่ไม่เอื้ออำนวยในการนำระบบ Currency Board มาใช้ในประเทศไทย ในขณะที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นได้กลับดูมีความเหมาะสมมากกว่า ภายใต้สภาวะการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับผลการศึกษางานวิจัยในเรื่องพฤติกรรมของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงที่ได้ค้นคว้ามา พบว่าประเทศไทยไม่เป็นไปตามคุณสมบัติ Purchasing Power Parity ทำให้การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงินสามารถส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกของประเทศ ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ชี้ว่าภาวะอัตราเงินเฟ้อของประเทศไม่อยู่ในระดับที่สูงมากหรือเกินความสามารถในการควบคุมของเจ้าหน้าที่การเงินภายหลังจากการนำระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการมาใช้ตั้งแต่กลางปี 1997 ทำให้การมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นได้ มีความหมายและมีประโยชน์ในการบริหารจัดการกับระบบเศรษฐกิจในสภาวะปัจจุบัน
Other Abstract: The objectives of this study are to explore choices of exchange rate regimes, to analyze the impact of applying currency board system for Thailand, and to make a recommendation about the optimal exchange rate regime for Thailand under the current internal and external economic circumstances. This thesis uses the descriptive method with the past empirical works to find the appropriate exchange rate regime for Thailand. From experiences of several countries such as Hong Kong, Argentina, Estonia and Lithuania that applied the currency board system, the system has proven to be very useful in stabilizing economic performance in particular in controlling the rate of inflation. Due to the fact that the currency board system is one among many ways of fixing the rate of exchange, the implementation of monetary policy has become strictly and its result is costly to the economy. Moreover, under the current economic situation, the study finds that the use of currency board is not appropriate for Thailand. While the flexible exchange rate regime such as the managed floating rate system used now would be appropriate for the country than the fixed exchange rate under the current internal and external circumstances. From the past empirical works, the Purchasing Power parity does not hold for the case of Thailand, and it results in the changes in the real exchange rates can influence the competitiveness of the Thai export. Additionally, the low rate of inflation or the controllable rate of inflation in Thailand after the crisis in 1997 and the flexibility of the exchange rates would support the monetary authority in managing the Thai economy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9013
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.401
ISBN: 9743469796
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.401
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Trirat.pdf12.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.