Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9106
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชูเกียรติ วิเชียรเจริญ | - |
dc.contributor.author | ศรายุทธ อยู่สำราญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-06-24T01:35:13Z | - |
dc.date.available | 2009-06-24T01:35:13Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741303211 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9106 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | พื้นหลักฐานอินเดียน 1975 เป็นพื้นหลักฐานอ้างอิงในการคำนวณงานทางด้านยีออเดติกของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งการวางโครงข่ายเพื่อหาค่าพิกัดทางราบจะอาศัยวิธีงานข่ายสามเหลี่ยม ค่าพิกัดที่รังวัดมาได้จะถูกคำนวณลงบนรูปทรงรีเอเวอเรสต์ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านการสำรวจมีความเจริญก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก การหาค่าพิกัดทางราบจึงเปลี่ยนมาใช้เทคนิคการสำรวจด้วยระบบดาวเทียม โดยเฉพาะระบบดาวเทียม GPS (Global Positioning System) เป็นวิธีสำรวจที่ได้รับความนิยมสูงอยู่ในขณะนี้ การสำรวจด้วยระบบดาวเทียมนอกจากจะให้ความสะดวกรวดเร็วและมีความถูกต้องสูงในการหาค่าพิกัดแล้ว ยังทำให้โครงข่ายมีความยึดเหนี่ยวกันดีขึ้นและทำให้ความถูกต้องของหมุดทั่วโครงข่ายมีความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์เดียวกันด้วย ค่าพิกัดที่ได้จากการรังวัดด้วยดาวเทียมระบบ GPS จะอ้างอิงอยู่บนพื้นหลักฐาน WGS84 (World Geodetic System 1984) และค่าพิกัดที่รังวัดมาได้จะถูกคำนวณลงบนรูปทรงรี WGS84 เช่นเดียวกัน เนื่องจากขนาด รูปร่างและทิศทางการวางตัวของรูปทรงรีที่ใช้ในการคำนวณเพื่อหาค่าพิกัดเปลี่ยนไปจึงทำให้ค่าพิกัดตำแหน่งที่ถูกคำนวณได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย จากการศึกษาความเหมาะสมระหว่างพื้นหลักฐาน WGS84 และพื้นหลักฐานอินเดียน 1975 กับพื้นผิวยีออยของประเทศไทยพบว่าพื้นหลักฐาน WGS84 มีความเหมาะกับสภาพพื้นผิวยีออยของประเทศไทยมากกว่าพื้นหลักฐานอินเดียน 1975 ในการเปลี่ยนพื้นหลักฐานอ้างอิงจะทำให้ระบบพิกัดของหมุดหลักฐานเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องคำนวณเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ในการแปลงค่าพิกัดระหว่างพื้นหลักฐานทั้งสองระบบ จากการวิจัยพบค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่ใช้ในการแปลงค่าพิกัดจากพื้นหลักฐานอินเดียน 1975 เป็นค่าพิกัดบนพื้นหลักฐาน WGS84 สำหรับประเทศไทยคือค่าเลื่อน 3 ตัวแปร ได้แก่ ค่าเลื่อนทางแกน X(deltaX) 204.4 เมตร, ค่าเลื่อนทางแกน Y(deltaY) 837.7 เมตร และค่าเลื่อนทางแกน Z(deltaZ) 294.7 เมตร ผลจากการเปลี่ยนแปลงของค่าพิกัดนี้มีผลให้ค่าพิกัดบนระนาบแผนที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ค่าพิกัดที่เปล่ยนแปลงไปนั้นเกินเกณฑ์การแก้ไขความถูกต้องบนแผนที่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้กรมแผนที่ทหารตัดสินใจที่จะผลิตแผนที่ชุดใหม่คือชุด L7018 ขึ้นใช้งานแทนแผนที่ชุดเก่าคือชุด L7017 และคาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี พ.ศ. 2546 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพื้นหลักฐานอ้างอิงการคำนวณงานทางด้านยีออเดติกของประเทศไทยในครั้งนี้จะส่งผลให้งานทางด้านการสำรวจและการผลิตแผนที่ของประเทศไทยก้าวไปสู่ระดับสากลในอนาคต | en |
dc.description.abstractalternative | Currently, the geodetic network for surveying and mapping of Thailand is based on Indian 1975 datum. The horizontal control network is computed from triangulation network. The reference coordinate system is computed on Everest spheroid and used as a local geodetic datum. Now the technology of surveying and mapping is developed very quickly. The coordinate system is determined by satellites, especially GPS satellites which give more accuracy and convenience in surveying than the triangulation. A coordinate system obtained from satellites is World Geodetic System 1984 or WGS84 datum. If a location of the center, orientation of axes and a shape of the ellipsoid are changed, the coordinate system will be changed too. From the investigation on suitability to the geoid in Thailand, between WGS84 datum and Indian 1975 datum, it was found that WGS84 datum fitted to the geoid better than the Indian 1975 datum. The change of the geodetic datum changed the coordinate system. It was therefore necessary to determine parameters for datum transformation between two coordinate systems. The transformation between different terrestrial reference system was performed by three dimensional (3D) similarity transformation. The investigation in this thesis shows that only 3 translations were needed in the datum transformation for Thailand from Indian 1975 to WGS84 datum, they are deltaX = 204.4 m. : deltaY = 837.7 m. : deltaZ = 294.7 m. One important effect for the changed datum was that coordinates on the map would change too. In case of Thailand, the change on UTM grid was much more than could be accepted. The Royal Thai Survey Department considered the mater and then decided to make the new UTM grid for the new map series called L7018. The new series was expected to complete in 2003. The change of the datum for Thailand was important because it would bring the surveying and mapping of Thailand to international standards. | en |
dc.format.extent | 2241068 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แผนที่ | en |
dc.subject | การรังวัด | en |
dc.subject | การสำรวจ | en |
dc.subject | การทำแผนที่ | en |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบความเหมาะสมของพื้นหลักฐานประเทศไทย : WGS84 กับอินเดียน 1975 | en |
dc.title.alternative | A comparative study on suitability of datums for Thailand : WGS84 versus Indian 1975 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสำรวจ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sarayut.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.