Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9372
Title: ประสิทธิผลของการใช้กิจกรรมดนตรี ที่มีต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ในกลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลศรีธัญญา
Other Titles: The effectiveness of music on revival of chronic psychiatric patient at Psychosocial Rehabilitation Department of Srithunya hospital
Authors: ศิรัตน์วดี ปิยะศีล
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parichart.S@chula.ac.th
Subjects: ดนตรีบำบัด
การสื่อสาร
สุขภาพจิต
ผู้ป่วยจิตเวช
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบความแตกต่างในด้านทัศนคติ พฤติกรรมการสื่อสารและพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางจิต ของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยใช้กิจกรรมดนตรี (กลุ่มทดลอง) กับผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยการพยาบาลตามปกติในหอผู้ป่วย (กลุ่มควบคุม) ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมดนตรี และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในด้านทัศนคติ พฤติกรรมการสื่อสารและพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางจิตของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยเน้นการใช้กิจกรรมดนตรี (กลุ่มทดลอง) ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมดนตรี โดยแบ่งผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน ใช้การวิจัยเชิงทดลองด้วยวิธี Pretest-Posttest Control Group Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภายหลังจากการทดลองโดยใช้กิจกรรมดนตรี ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่ได้รับฟื้นฟูสมรรถภาพโดยเน้นการใช้กิจกรรมดนตรี (กลุ่มทดลอง) มีทัศนคติ พฤติกรรมการสื่อสาร และพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางจิตดีขึ้นมากกว่าผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการพยาบาลตามปกติในหอผู้ป่วย (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ภายหลังจากการทดลองโดยการใช้กิจกรรมดนตรี ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยเน้นการใช้กิจกรรมดนตรี (กลุ่มทดลอง) มีทัศนคติ พฤติกรรมการสื่อสาร พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางจิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากกว่า ก่อนการทดลองโดยใช้กิจกรรมดนตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: To compare (1) the differences of attitude, communication behavior, and psychological disorder behavior of chronic psychiatric who receive the psychiatric rehabilitation program and music therapy (experimental group) with those who receive the psychiatric rehabilitation program without music therapy (control group); (2) the changes on attitude and communication behavior of chronic psychiatric patients, after receiving the rehabilitation program and music therapy. Experimental research with pretest-posttest control group design was conducted. Two groups of forty psychiatric patients each participated in the experimental group and the control group, respectively. Freguencies distribution, percentage, means, standard deviation and t-test were used to analyze data. The results were as followed; 1. Chronic psychiatric patients who recieved the psychiatric rehabilitation program and music therapy demonstrated higher level of attitude, communication behavior, and psychological disorder behavior than those who received the psychiatric rehabilitation program without music therapy. 2. After the experiment, chronic psychiatric patients who received the psychiatric rehabilitation program and music therapy had higher level of attitude, communication behavior and psychological disorder behavior, compared with the pre-experiment period.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9372
ISBN: 9746377248
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirathwadee_Pi_front.pdf867.06 kBAdobe PDFView/Open
Sirathwadee_Pi_ch1.pdf873.16 kBAdobe PDFView/Open
Sirathwadee_Pi_ch2.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Sirathwadee_Pi_ch3.pdf830.04 kBAdobe PDFView/Open
Sirathwadee_Pi_ch4.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Sirathwadee_Pi_ch5.pdf936.12 kBAdobe PDFView/Open
Sirathwadee_Pi_back.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.