Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9410
Title: ปริมาณสารโพลีฟีนอลและฤทธิ์การต้านออกซิเดชั่นโดยรวม ของใบหม่อนและชาใบหม่อนจากบางแหล่งในประเทศไทย
Other Titles: Total polyphenol content and antioxidant activity of mulberry leaves and mulberry tea from some sourecs in Thailand
Authors: รัตติยา สำราญสกุล
Advisors: อรอนงค์ กังสดาลอำไพ
สุรพจน์ วงศ์ใหญ่
Advisor's Email: Oranong.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ฟลาโวนอยส์
แอนติออกซิแดนท์
โพลีฟีนอล
หม่อน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์ปริมาณเควอซิติน เคมเฟอรอล โพลีฟีนอลโดยรวม และฤทธิ์การต้านออกซิเดชันโดยรวมของหม่อนอบแห้งซึ่งปลูกที่ ศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี สถานีทดลองหม่อนไหมตากและศูนย์วิจัยหม่อนไหมแพร่ ในส่วนยอด ใบอ่อนและใบแก่ ของใบหม่อนพันธุ์นครราชสีมา 60 บุรีรัมย์ 60 คุณไพและน้อย พบว่าสถานที่ปลูก อายุใบ และพันธุ์ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมกันทำให้ปริมาณเควอซิติน เคมเฟอรอล และโพลีฟีนอลโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<=0.05) ใบหม่อนซึ่งปลูกที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี ส่วนยอดพันธุ์นครราชสีมา 60 มีปริมาณเควอซิตินและเคมเฟอรอลสูงสุด (2,069.75 และ 869.44 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ตามลำดับ) และยอดพันธุ์บุรีรัมย์ 60 มีโพลีฟีนอลโดยรวมสูงสุด (6,301.03 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม โดยแสดงค่าเป็น gallic acid equivalents) ในชาใบหม่อน 5 ชนิด พบว่าชาเขียวใบหม่อนที่ผลิตแบบอุตสาหกรรมโรงงาน มีปริมาณเควอซิติน เคมเฟอรอลและโพลีฟีนอลโดยรวมสูงสุด การใช้น้ำร้อนชงชาพบว่าที่เวลา 6 และ 60 นาที ปริมาณเควอซิติน และเคมเฟอรอลในน้ำชา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<=0.05) ส่วนปริมาณโพลีฟีนอลโดยรวมในน้ำชาที่เวลา 6, 12, 30 และ 60 นาที ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>=0.05) ฤทธิ์การต้านออกซิเดชันโดยรวมของน้ำชาเขียวใบหม่อน ซึ่งผลิตแบบอุตสาหกรรมโรงงานที่ชงด้วยน้ำร้อนมีค่าสูงที่สุด เมื่อเทียบกับชาชนิดเดียวกันที่ไม่ได้ชงด้วยน้ำร้อน ก่อนที่จะนำมาผ่านขั้นตอนการสกัดด้วยวิธีการเดียวกัน และสูงกว่าส่วนยอด ใบอ่อนและใบแก่ของใบหม่อนอบแห้งพันธุ์เดียวกัน ผลการวิจัยนี้ยืนยันได้ว่า ใบหม่อน ชาใบหม่อน และน้ำชาใบหม่อนเป็นแหล่งที่ดีของเควอซิติน เคมเฟอรอล และโพลีฟีนอลโดยรวม ซึ่งมีบทบาทในการต้านออกซิเดชัน เป็นผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์ในการป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ
Other Abstract: Leaves collected as tip, young and old ages of four varieties of mulberry namely Nakhonratchasima 60, Burirum 60, Khunpai and Noi were analyzed for flavonol, total polyphenol and total antioxidant activity. Each variety was grown in Nakhonratchasima, Udonthanee, Tak and Prae. Source, age and variety of mulberry leaves were the factors that have significant difference (p<=0.05) interaction for content of quercetin, kaempferol and total polyphenol. From Udonthani, the tip of Nakhonratchasima 60 had the highest content of quercetin and kaempferol (2,069.75 and 869.44 mg/100 g, respectively). And the tip of Burirum 60 variety had the highest content of total polyphenol (6,301.03 mg/100 g, gallic acid equivalents). In 5 types of mulberry tea, mulberry green tea by industrial process had the highest content of quercetin, kaempferol and total polyphenol. Quercetin and kaempferol contents in brew tea at 6 and 60 minute were significant difference (p<=0.05), whereas total polyphenol in extraction at 6, 12, 30 and 60 minute was no significant difference (p>=0.05). Total antioxidant activity in hot water extraction of mulberry green tea by industrial process had the highest values among the same tea but did not extracted with hot water before extraction in the same process and higher than the tip young and old ages of dry mulberry leaves with the same variety. These results confirm that mulberry leaves and mulberry tea are the good sources of quercetin, kaempferol and total polyphenol that have role of antioxidant and beneficial effects to preventive chronic disease in human health
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9410
ISBN: 9740301797
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattiya.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.