Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9531
Title: การศึกษาคุณภาพกำลังไฟฟ้าในระบบจำหน่าย
Other Titles: Power quality study in a distribution system
Authors: วัฒนะ ลิมปนันท์วดี
Advisors: ไชยะ แช่มช้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chaiya.C@chula.ac.th
Subjects: ไฟฟ้า
การวัดไฟฟ้า
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เน้นการศึกษาคุณภาพกำลังไฟฟ้าในระบบจำหน่าย โดยติดตั้งเครื่องวัดจำนวน 79 จุดวัดบนระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวงที่ระดับแรงดัน 12 และ 24 kV แต่ละจุดใช้เวลาตรวจวัดนานประมาณ 7 วัน รวมเวลาตรวจวัดทั้งหมดประมาณ 4 เดือนครึ่ง ข้อมูลที่วัดได้จะถูกนำมาวิเคราะห์หาปริมาณทางด้านคุณภาพกำลังไฟฟ้าประกอบด้วย ฮาร์มอนิก ภาวะชั่วครู่ แรงดันตกชั่วครู่ แรงดันเกินชั่วครู่ แรงดันตก แรงดันเกิน ไฟฟ้าดับ แรงดันไม่สมดุล การคุมค่าแรงดัน การแปรเปลี่ยนความถี่กำลังไฟฟ้า และรูปที่คลื่นผิดพร่อง ผลการศึกษาพบปัญหาทางด้านคุณภาพกำลังไฟฟ้าที่สำคัญคือ มี Ih Vh และ THDv เกินค่ากำหนดของมาตรฐาน G.5/3-1976 จำนวน 6 จุดวัด 2 จุดวัด และ 18 จุดวัด ตามลำดับ เกิดภาวะชั่วครู่ชนิดแกว่งจำนวน 30 ครั้งจาก 10 จุดวัด มีแรงดันตกชั่วครู่ที่สถานีย่อย 158 ครั้งและที่ผู้ใช้ไฟฟ้า 318 ครั้งเกิดไฟฟ้าดับชั่วครู่ที่สถานีย่อย 6 ครั้ง ที่ผู้ใช้ไฟฟ้า 27 ครั้ง เกิดไฟฟ้าดับถาวรนานเกิน 4 นาทีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 24 ครั้ง และเกิดรูปคลื่นผิดพร่องที่สถานีย่อย 13 ครั้ง และที่ผู้ใช้ไฟฟ้า 63 ครั้ง ปัญหาทางด้านคุณกำลังไฟฟ้าที่ตรวจพบนี้อาจส่งผลทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมแล้วสรุปได้ว่าคุณภาพกำลังไฟฟ้าของระบบจำหน่ายที่ทำการศึกษายังอยู่ในเกณฑ์ดี
Other Abstract: This thesis emphasizes the power quality study in MEA, 12kV and 24 kV distribution systems. There are totally 79 monitoring points in the system and each point has 7-day monitoring period. This gives the total monitoring monitoring period approximately 4 and a half months. The obtained monitoring data is analyzed to evaluate various power quality parameters such as harmonics, transients, voltage sags, voltage swells, undervoltages, overvoltages, interruptions, voltage unbalances, voltage regulations, power frequency variations and waveshape faults. The results show that power quality problems are caused by high values of individual harmonic currents (Ih), individual harmonic voltages (Vh) and total harmonic voltage distortions (THDv). The numbers of monitoring point that Ih, Vh and THDv are over the limit given by G.5/3-1976 standard are 6, 2 and 18 respectively. There are 30 transients occurred from 10 monitoring points, 158 voltage sags at substations, 318 voltage sags at customers, 6 short interruptions at substations, 27 short interruptions at customers, 4 interruptions that last longer that 4 minutes at customers and 13 and 63 waveshape faults at substations and customers, respectively. These problems can cause damages or malfunctions of devices. However, overall results summarize that power quality in this distribution system is within the limit given by the standards.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9531
ISBN: 9746396374
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wattana_Li_front.pdf817.81 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_Li_ch1.pdf713.04 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_Li_ch2.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Wattana_Li_ch3.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Wattana_Li_ch4.pdf4.52 MBAdobe PDFView/Open
Wattana_Li_ch5.pdf688.66 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_Li_back.pdf742.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.