Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/956
Title: แนวทางการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของทหาร กับการตัดสินใจสมัครเป็นทหารกองประจำการของชายไทย
Other Titles: Public relations trends for public image of the royal Thai military and decision-making of Thai males in applying to be enlisted
Authors: สุพรรษา จิตเลขา, 2522-
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การประชาสัมพันธ์
การโน้มน้าวใจ
การเปิดรับข่าวสาร
การเกณฑ์ทหาร
ภาพลักษณ์องค์การ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวทางการประชาสัมพันธ์ของกองทัพในการสร้างภาพลักษณ์ของทหาร และรณรงค์ให้ประชาชนชายไทยตัดสินใจสมัครเป็นทหารกองประจำการ ศึกษาภาพลักษณ์ของทหารในทัศนะของชายไทยที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังต่อไปนี้ การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการสมัครเป็นทหารกองประจำการ กับภาพลักษณ์ของทหาร การเปิดรับข่าวสารกับการตัดสินใจสมัครเป็นทหารกองประจำการ ภาพลักษณ์ของทหารกับการตัดสินใจสมัครเป็นทหารกองประจำการ อีกทั้งศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการเปิดรับข่าวสารของชายไทย ที่ได้รับการเกณฑ์ทหารแล้วกับผู้ที่ยังไม่ได้รับการเกณฑ์ทหาร สุดท้ายศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของทหาร ในสายตาของชายไทยที่ได้รับการเกณฑ์ทหารแล้วกับผู้ที่ยังไม่ได้รับการเกณฑ์ทหาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์นายทหารผู้รับผิดชอบงานด้านการประชาสัมพันธ์ จำนวน 4 นาย และแจกแบบสอบถามแก่กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแตกต่าง (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของ Scheffe และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. กองทัพบกเป็นหน่วยงานหลักในการทำประชาสัมพันธ์ ในส่วนของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ จะดำเนินการประชาสัมพันธ์ตามแผนที่กองทัพบกวางไว้ สื่อที่ใช้ในการทำประชาสัมพันธ์ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อมวลชน และอื่นๆ 2. ชายไทยที่มีสถานภาพสมรสและรายได้ต่างกัน มีภาพลักษณ์ของทหารไม่แตกต่างกัน ส่วนชายไทยที่มีระดับการศึกษาและอาชีพต่างกัน มีภาพลักษณ์ของทหารแตกต่างกัน 3. การเปิดรับข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ของทหาร 4. การเปิดรับข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสมัครเป็นทหารกองประจำการ 5. ภาพลักษณ์ของทหารมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก กับการตัดสินใจสมัครเป็นทหารกองประจำการ 6. การเปิดรับข่าวสารของชายไทยที่ได้รับการเกณฑ์ทหารแล้ว กับผู้ที่ยังไม่ได้รับการเกณฑ์ทหารแตกต่างกัน โดยผู้ที่ได้รับการเกณฑ์ทหารแล้ว มีความบ่อยครั้งในการเปิดรับข่าวสารมากกว่าผู้ที่ยังไม่ได้รับการเกณฑ์ทหาร 7. ภาพลักษณ์ของทหารในสายตาของชายไทยที่ได้รับการเกณฑ์ทหารแล้ว กับผู้ที่ยังไม่ได้รับการเกณฑ์ทหารแตกต่างกัน โดยภาพลักษณ์ของทหารในสายตาของผู้ที่ได้รับการเกณฑ์ทหารแล้ว ต่ำกว่าผู้ที่ยังไม่ได้รับการเกณฑ์ทหาร
Other Abstract: To study public relations trends for public image of the royal Thai military and campaign on voluntarily to be enlisted, and to study the public image of the royal Thai military from the view of Thai males who have different demographic characteristics, moreover, to study the relationship of these variables ; media exposure on voluntarily to be enlisted and the public image of the royal Thai military, media exposure and decision-making in applying to be enlisted, the public image of the royal Thai military and decision-making in applying to be enlisted, also, to compare the differences of media exposure between the enlisted Thai males and the unenlisted Thai males, and finally, to compare the differences of the public image of the royal Thai military between the enlisted Thai males and the unenlisted Thai males. The survey was conducted by interviewing 4 military officers responsible for the public relations project. Also, questionnaires were used to collect the data from a total of 400 samples. Frequency,percentage, mean, t-test, One-Way Anova, Scheffe and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient were employed for the analysis of the data. SPSS program was used for data processing. The results of the research were as follows 1. The public relations was mainly managed by the royal Thai army. The part of the royal Thai navy and air force were in progress along the public relations plan schemed by the army. Interpersonal media, mass media and others were used for public relations' activities. 2. Thai males with different marital status and income were not different in the public image of the royal Thai military. But, Thai males with different education and occupation were different. 3. Media exposure was not correlated with the public image of the royal Thai military. 4. Media exposure was not correlated with decision-making in applying to be enlisted. 5. The public image of the royal Thai military was positively correlated with the decision-making in applying to be enlisted. 6. The enlisted Thai males'media exposure differed from the unenlisted one ; the first one was more frequent than the last one. 7. The public image of the royal Thai military between the enlisted Thai males and the unenlisted ones were different ; the first one was more negative than the last one.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/956
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.118
ISBN: 9741726635
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.118
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphansa.pdf14.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.