Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9572
Title: การพัฒนาโปรแกรมจัดคอร์ดเพลง
Other Titles: Development of a program to arrange musical chords
Authors: พีรกาญจน์ สิริเวชพันธุ
Advisors: สมชาย ทยานยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Somchai.Th@Chula.ac.th
Subjects: ดนตรี -- ทฤษฎี
คอร์ดเพลง -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ กล่าวถึงการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมจัดคอร์ดเพลง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยจัดคอร์ดเพลงแทนนักดนตรีที่ไม่ชำนาญ และเพื่อช่วยลดเวลาการแต่งเพลงและการแกะเพลงของนักดนตรีลงระเบียบวิธีการจัดคอร์ดเพลงของโปรแกรมนี้ พัฒนามาจากทฤษฎีดนตรีต่างๆ ที่ได้รับการเรียงลำดับความสำคัญเพื่อนำมาสร้างเป็นกฎการศึกษาสำนึก (Heuristic Rule) ซึ่งในการทำงานของโปรแกรม โปรแกรมจะรับข้อมูลขาเข้าเป็นทำนองเพลง และแสดงผลลัพธ์เป็นคอร์ดเพลง โดยมีขั้นตอนการจัดคอร์ดสามขั้นคือ ขั้นแรก ตรวจสอบบันไดเสียงของทำนองเพลง ขั้นที่สอง สร้างคลังคอร์ดในบันไดเสียง และขั้นที่สาม จัดคอร์ดเพลงโดยการคิดคะแนนให้กับคอร์ดเพลงในคลังคอร์ดและเลือกใช้คอร์ดที่มีคะแนนสูงสุด ซึ่งหากมีคอร์ดที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากันหลายคอร์ด โปรแกรมจะกลั่นกรองเป็นลำดับขั้นตามกฎการศึกษาสำนึก จนได้คอร์ดที่ดีที่สุดสำหรับทำนองเพลงออกมา และจากการทดสอบความไพเราะของคอร์ดเพลงสังเคราะห์เทียบกับคอร์ดเพลงต้นฉบับจะพบว่า ในกลุ่มผู้ฟังทั่วไปมีความเห็นว่าคอร์ดสังเคราะห์ที่สร้างจากโปรแกรมมีความไพเราะมากกว่าหรือเทียบเท่ากับคอร์ดต้นฉบับคิดเป็นร้อยละ 55 ในขณะที่กลุ่มผู้ฟังที่เป็นนักดนตรีมีความเห็นว่าคอร์ดสังเคราะห์ไพเราะน้อยกว่าคอร์ดต้นฉบับเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 47
Other Abstract: This thesis presents the design and development of a musical chord arrangement program. This program can help amateur musician to reduce the song composition and transcription time. The chord arrangement algorithm is developed from musical theories and heuristic rules. The program receives melody as an input and gives chords as an output. The algorithm has three steps. The first, verifies a melody scale and key signature. The second, creates a collection of chords that compatible with the scale. And the last, the most appropriate chord is selected from the collection. From the melodious testing between the synthesized chord and the original chord, general listeners and musician listeners approve the synthesized chord is better or equal the original chord 55 and 47 percent respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9572
ISBN: 9746395467
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pheerkam_Si_front.pdf802.16 kBAdobe PDFView/Open
Pheerkam_Si_ch1.pdf722.07 kBAdobe PDFView/Open
Pheerkam_Si_ch2.pdf759.58 kBAdobe PDFView/Open
Pheerkam_Si_ch3.pdf872.57 kBAdobe PDFView/Open
Pheerkam_Si_ch4.pdf723.59 kBAdobe PDFView/Open
Pheerkam_Si_ch5.pdf936.02 kBAdobe PDFView/Open
Pheerkam_Si_ch6.pdf871.41 kBAdobe PDFView/Open
Pheerkam_Si_ch7.pdf693.5 kBAdobe PDFView/Open
Pheerkam_Si_back.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.