Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/964
Title: การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการยอมรับนโยบายจัดระเบียบสังคมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Media exposure, knowledge, attitude and acceptance of social ordering policy among people in Bangkok
Authors: ศรันยา จิตชัยโภคา, 2522-
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การเปิดรับข่าวสาร
การจัดระเบียบสังคม
ผู้รับสาร
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการยอมรับนโยบายจัดระเบียบสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลอาศัย ค่าเฉลี่ย t-test One-way ANOVA ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีสถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับรายได้แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายจัดระเบียบสังคมแตกต่างกัน 2. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับรายได้แตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายการจัดระเบียบสังคมไม่แตกต่างกัน 3. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีสถานภาพสมรส อายุ อาชีพ และระดับรายได้แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อนโยบายการจัดระเบียบสังคมแตกต่างกัน 4. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีสถานภาพสมรส อายุ และอาชีพ แตกต่างกัน มีการยอมรับนโยบายจัดระเบียบสังคมแตกต่างกัน 5. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายจัดระเบียบสังคมจากวิทยุ นิตยสาร สามี/ภรรยา/คนรัก บุคคลในครอบครัว เครือญาติ และนายจ้าง/ลูกจ้าง มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้เกี่ยวกับนโยบายจัดระเบียบสังคม 6. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายจัดระเบียบสังคมจากโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อนโยบายจัดระเบียบสังคม 7. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายจัดระเบียบสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับนโยบายจัดระเบียบสังคม 8. ความรู้เกี่ยวกับนโยบายจัดระเบียบสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อนโยบายจัดระเบียบสังคม 9. ความรู้เกี่ยวกับนโยบายจัดระเบียบสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับต่อนโยบายจัดระเบียบสังคม 10. ทัศนคติต่อนโยบายจัดระเบียบสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับนโยบายจัดระเบียบสังคม 11. ตัวแปรที่สามารถอธิบายการยอมรับนโยบายจัดระเบียบสังคมได้แก่ การเปิดรับข่าวสาร เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ สื่อบุคคล และสื่อมวลชนโดยรวม
Other Abstract: The purpose of this survey is to study the correlation between information exposure, knowledge, attitude and acceptance of social ordering policy. Questionnaires were used for data collection from a total of 410 samples. Percentage, mean, t-test, One-way ANOVA. Pearson's product moment correlation coefficient and multiple regression were employed for the analysis of the data through SPP program Findings: 1. People in Bangkok metropolitan area with different marital status, age, level of education, occupation and income are significantly different in information exposure about Social Ordering Policy. 2. People in Bangkok metropolitan area with different sex, marital status, age, level of education, occupation and income are not significantly different in knowledge about Social Ordering Policy. 3. People in Bangkok metropolitan area with different marital status, age, occupation and income are significantly different in attitude toward Social Ordering Policy. 4. People in Bangkok metropolitan area with different marital status, age and occupation are significantly different in acceptance of Social Ordering Policy. 5. Media Exposure to radio, Magazine, communication with spouses, family members, cousins, employers and employees negatively correlated with knowledge about Social Ordering Policy. 6. Exposure to television and newspaper positively correlated with attitude toward Social Ordering Policy. 7. Media Exposure positively correlated with acceptance of Social Ordering Policy. 8. Knowledge is positively correlated with attitude toward Social Ordering Policy. 9. Knowledge is not significantly correlated with acceptance of Social Ordering Policy. 10. Attitude is positively correlated with acceptance of Social Ordering Policy. 11. Media Exposure is the variable best explain acceptance of Social Ordering Policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/964
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.569
ISBN: 9741721145
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.569
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
salunya.pdf26.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.