Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/967
Title: ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดของผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ การแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก 2002
Other Titles: Effectiveness of marketing communications by World Cup 2002 official sponsors
Authors: ภานินี นิมากร, 2518-
Advisors: สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Suwattana.V@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารทางการตลาด
การรับรู้
พฤติกรรมผู้บริโภค
ชื่อตราผลิตภัณฑ์
ฟุตบอลโลก (2002)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และรูปแบบการสื่อสารการตลาด ของผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ การแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก 2002 และการระลึกจดจำได้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาด ของผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ การแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก 2002 ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาคือ การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหารตราสินค้า 4 ตราสินค้า และการวิจัยเชิงสำรวจด้วยการเก็บตัวอย่างแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 18-45 ปี จำนวน 400 คน ในช่วงระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ผลของการศึกษาวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ตราสินค้าที่นำมาวิจัยนั้นมีวัตถุประสงค์ในการเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ การแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 เพื่อสร้างตราสินค้าและทำให้ผู้บริโภคเกิดการระลึกจดจำได้ในตราสินค้า โดยมุ่งหวังผลทางยอดขายเป็นประเด็นรอง ทั้งนี้แต่ละตราสินค้าได้ใช้งบประมาณในการทำการสื่อสารการตลาดตั้งแต่ประมาณ 30 ล้านบาทถึง 250 ล้านบาท โดยเลือกใช้กลยุทธ์และสื่อการตลาดที่เชื่อว่า สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของตราสินค้าตน จากการศึกษาพบว่า ในการประเมินประสิทธิผลของการทำการสื่อสารการตลาด อันเนื่องมาจากการเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการนั้น ผู้บริหารตราสินค้ามีการวัดผลด้วยตัวเลขทางยอดขายเท่านั้น ยังไม่ได้มีการวัดผลในด้านของภาพลักษณ์และการจดจำแต่อย่างใด 2) ตราสินค้าส่วนใหญ่มีความระลึกจดจำได้ในตราสินค้าที่นำมาวิจัยว่า เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ การแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 สามารถจดจำสื่อการตลาดของแต่ละตราสินค้า เห็นด้วยกับการเป็นผู้สนับสนุน มีทัศนคติต่อตราสินค้าในเชิงบวก และมีความตั้งใจซื้อในตราสินค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการเป็นตราสินค้าผู้ให้การสนับสนุนหลักของการแข่งขัน
Other Abstract: To study the objectives, strategies, and marketing communication tools of 4 World Cup 2002 official sponsors : Adidas, Coca Cola, Fuji Film, and JVC ; And to study the consumers' recall, attitude, and the behavior towards the selected brands. The methodologies used are qualitative research, in-depth interview with the 4 sponsored brands and the quatitative research, survey research with 400 questionnaires from males and females aged 18-45 years old in Bangkok. The research was studied before, during, and after the period of World Cup 2002 (January-July 2002). The results indicate that 1) The selected World Cup 2002 sponsors mainly anticipated to create brand image and consumers' brand awareness as their objectives where sales volume was their secondary objective. The budget was ranged from 30 to 250 millions Baht with the consumers oriented marketing strategies and communication tools in reaching their targets. From the study, the effectiveness was measured only from the sales volume, no research on branding and consumers' attitude and behavior were conducted. 2) Most consumers could recall the sponsored brands as well as the marketing communication tools used. They were agreed with the brands in being World Cup 2002 sponsors, had positive attitude towards brands, and also had more purchase intention.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/967
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.533
ISBN: 9741729162
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.533
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paninee.pdf12.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.