Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9838
Title: ผลกระทบของวัสดุตกแต่งภายในต่อการสะสมความร้อน และความชื้นภายในอาคาร
Other Titles: The effects of interior finishing materials on heat and moisture accumulation in building
Authors: วีรศักดิ์ ศลศิลป์ชัย
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การตกแต่งภายใน
ความร้อน -- การถ่ายเท
ความชื้น
การปรับอากาศ
วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง
Issue Date: 2540
Abstract: การใช้พลังงานภายในอาคารส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการทำงานของระบบปรับอากาศ เพื่อปรับสภาวะภายในอาคารให้อยู่ในเขตสบาย ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภายในอาคารเกิดจากปริมาณความร้อน และความชื้นที่สะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ของอาคาร วัสดุตกแต่งภายในทุกชนิดมีคุณสมบัติในการสะสมความร้อนและความชื้น ด้วยเหตุนี้การเลือกใช้วัสดุตกแต่งภายในจึงมีผลต่อการเพิ่ม หรือลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการสะสมความร้อนและความชื้นของวัสดุตกแต่งภายในอาคาร ในสภาวะที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ให้คงที่ ปริมาณความร้อนและความชื้นที่สะสมอยู่ในวัสดุต่างๆ ภายในห้องจึงกลายเป็นภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มเปิดระบบปรับอากาศ กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาและรวบรวมข้อมูลของวัสดุตกแต่งภายในอาคารที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยรวบรวมตัวอย่างของวัสดุตกแต่งภายในมาทดสอบจำนวน 32 ชนิด โดยแยกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ วัสดุประเภทพรม วัสดุประเภทผ้า วัสดุบุเฟอร์นิเจอร์ วัสดุประเภทวอลล์เปเปอร์ วัสดุโครงสร้างภายใน และหนังสือ ขั้นตอนต่อมา คือ การวิเคราะห์ความสามารถในการสะสมความร้อน และความชื้นของวัสดุแต่ละชนิด โดยการทำให้วัสดุดูดซับความร้อน และความชื้นอย่างเต็มที่ด้วยการนำไปไว้ภายนอกห้องปรับอากาศ ในขณะเดียวกันทำการตรวจสอบน้ำหนักของวัสดุตัวอย่างแต่ละชนิด เพื่อประเมินค่าน้ำหนักของวัสดุภายใต้สภาวะภายนอกที่มีอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้างสูง ขั้นตอนต่อมา คือ นำวัสดุเข้ามาไว้ภายในห้องปรับอากาศแล้วทำการวิเคราะห์หาปริมาณความชื้นที่ลดลงเนื่องจากการสูญเสียความชื้นภายในห้องปรับอากาศ ความแตกต่างระหว่างน้ำหนักที่อยู่ภายนอกเปรียบเทียบกับภายในห้องปรับอากาศ ก็คือ ความชื้นที่สะสมอยู่ในวัสดุ ซึ่งจะกลายเป็นภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศที่เกิดจากการสะสมความชื้นของวัสดุนั้น ผลจากการวิจัยพบว่า พรมใยขนแกะ ซึ่งมีน้ำหนักของขนพรมเท่ากับ 2 1/2 ปอนด์ต่อตารางหลา มีความสามารถในการสะสมความร้อน และความชื้นสูงสุดเมื่อเทียบกับวัสดุทั้งหมด ซึ่งมีปริมาณความร้อนแฝงเท่ากับ 227.77 บีทียูต่อตารางเมตร และมีค่าปริมาณความร้อนสัมผัสเท่ากับ 15.99 บีทียูต่อตารางเมตร คิดเป็นปริมาณความร้อนรวมเท่ากับ 243.76 บีทียูต่อตารางเมตร ในขณะที่ผ้าลินินมีความสามารถในการสะสมความร้อนและความชื้นต่ำสุด มีปริมาณความร้อนแฝงเท่ากับ 12.25 บีทียูต่อตารางเมตร และมีค่าปริมาณความร้อนสัมผัสเท่ากับ 0.64 บีทียูต่อตารางเมตร คิดเป็นปริมาณความร้อนรวมเท่ากับ 12.89 บีทียูต่อตารางเมตร ข้อมูลที่ได้รับจากการวิจัยเป็นเพียงปริมาณความร้อนที่ได้จากการทดลองงแต่ในการออกแบบเพื่อกำหนดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศต้องใช้ค่าอุณหภูมิสูงสุดซึ่งเป็นค่าที่กำหนดจากมาตรฐานการปรับอากาศ (ASHRAE) จากการคำนวณพบว่า พรมใยขนแกะ ดังกล่าวมีปริมาณค่าความร้อนแฝงเท่ากับ 283.72 บีทียูต่อตารางเมตร และมีค่าปริมาณความร้อนสัมผัสเท่ากับ 47.96 บีทียูต่อตารางเมตร คิดเป็นปริมาณความร้อนรวมเท่ากับ 331.68 บีทียูต่อตารางเมตร ส่วนผ้าลินินมีค่าปริมาณความร้อนแฝงเท่ากับ 15.26 บีทียูต่อตารางเมตร และมีค่าปริมาณความร้อนสัมผัสเท่ากับ 1.64 บีทียูต่อตารางเมตร คิดเป็นปริมาณความร้อนรวมเท่ากับ 16.90 บีทียูต่อตารางเมตา ค่าสูงสุดที่ได้จากมาตรฐานการปรับอากาศ (ASHRAE) เมื่อนำมาคำนวนเปรียบเทียบพื้นที่วัสดุต่อขนาดเครื่องปรับอากาศ พบว่าพื้นที่พรมใยขนแกะคิดเป็น 36.1 ตารางเมตร/ตัน. ชั่วโมง. ผ้าลินินคิดเป็นพื้นที่ 710.1 ตารางเมตร/ตัน.ชั่วโมง. ผลการวิจัยแสดงว่าการสะสมความร้อนและความชื้นของวัสดุตกแต่งภายในมีอิทธิพลอย่างรุนแรงต่อการทำงานของระบบปรับอากาศ ดังนั้นในการเลือกใช้วัสดุตกแต่งภายในจำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติในการสะสมความร้อนของวัสดุเพื่อลดภาระการปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นเปิดระบบปรับอากาศ
Other Abstract: Most of the energy consumption in the building is the result of the operation of air-conditioning system in order to control internal temperature at the comfort zone. One factor which influences the fluctuation of internal temperature is heat and moisture accumulation in the building. All finishing materials are of heat and moisture accumulation in characteristics. Therefore, the selection of internal finishing materials will affect on the increasing or reducing of the cooling load of air-conditioning system. The objective of this research is to study the behavior and performance characteristics of interior finishing materials with respect to accumulation of heat and moisture at a controlled temperature and relative humidity. The heat and moisture accumulated in the rooms will become the cooling load of air-conditioning system, especially at the beginning of the operation of air-conditioner. According to the research methodology, the study included an actual application of altogether 32 interior finishing materials which were later divided into 6 groups. These are carpet, fabric, furniture lining, wallpaper, interior structural materials and loose materials such as books, magazines etc. Next step was to analyze the capacity of the heat and moisture accumulation of each material by placing them outside the room and allowing all materials to absorb heat and moisture at the utmost capacity. At the same time, the weight change of each one were recorded and comparison of heat and moisture retention of each material type were done inside the air-conditioning room. The different weight of each materials is the different amount of heat and moisture retention of the various interior materials. This refers that the different heat loads imposed on building cooling systems due to the different amount of heat and moisture retention of the various interior materials. According to the findings, the 2 1/2 pound wool carpet was the most capable material of accumulating heat and moisture with latent load at 227.7 Btu/sqm. and sensible load at 15.99 Btu/sqm., or 243.76 Btu/sqm. total load. Lining, on the other hand, was the least capable in accumulating heat and moisture with 12.25 Btu/sqm latent load and 0.64 Btu/sqm sensible load., or 12.89 Btu/sqm. total load. However, the findings indicated merely total load. In the actual circumstance, total peak load must be used to set the standard design condition (ASHRAE). These calculations showed that the 2 1/2 pound wool carpet contained latent load at 283.72 Btu/sqm. and sensible load at 47.96 Btu/sqm., or 331.68 Btu/sqm. total load. Lining contained heat and moisture at 15.26 Btu/sqm. latent load and 1.64 Btu/sqm. sensible load., or 16.90 Btu/sqm. total load. When taking the peak load obtained from standard design condition (ASHRAE) into comparison area per ton-hour of air-conditioning system, the result showed that the 2 1/2 pound wool carpet was 36.1 sqm/ton-hour. The lining was 710.1 sqm/ton-hour. The result of this research demonstrates that the interior finishing material strongly influence on heat and moisture accumulation imposed on air-conditioning system operation. Hence, the selection of interior finishing material has to concern with heat and moisture accumulation characteristic in order to alleviate cooling load, especially at the beginning of air-conditioning system operation.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9838
ISBN: 9746389025
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerasak_So_front.pdf831.56 kBAdobe PDFView/Open
Weerasak_So_ch1.pdf726.18 kBAdobe PDFView/Open
Weerasak_So_ch2.pdf946.83 kBAdobe PDFView/Open
Weerasak_So_ch3.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Weerasak_So_ch4.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Weerasak_So_ch5.pdf770.59 kBAdobe PDFView/Open
Weerasak_So_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.