Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9844
Title: ความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยตามหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับประถมศึกษา
Other Titles: Opinions of teachers and students concerning media utilization for affective domain on energy and environment conservation curriculum at the elementary education level
Authors: นันทนา แสนสาคร
Advisors: สุนันท์ ปัทมาคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสอนด้วยสื่อ
การอนุรักษ์พลังงาน -- การศึกษาและการสอน
สิ่งแวดล้อมศึกษา
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่เกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย ตามหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูประจำชั้นหรือครูที่สอนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมจำนวน 521 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายจำนวน 421 คน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทดลองหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมวิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย ตามหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 1.1 การใช้กิจกรรมร่วมกับสื่อการเรียนการสอน เพื่อการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยที่ครูผู้สอนเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุดคือ การบรรยายร่วมกับหนังสืออ่านประกอบ/เสริมความรู้ รองลงมาคือ การอภิปรายร่วมกับหนังสืออ่านประกอบ/เสริมความรู้ และการปฏิบัติจริงร่วมกับหนังสืออ่านประกอบ/เสริมความรู้ ตามลำดับ 1.2 เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูระหว่างระดับชั้นที่สอน ประสบการณ์ในการสอนสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์ในการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่า ครูผู้สอนทั้งหมดมีความคิดเห็นตรงกันคือ เห็นว่าควรใช้การบรรยายร่วมกับหนังสืออ่านประกอบ/เสริมความรู้ รองลงมาคือ ใช้การอภิปรายร่วมกับหนังสืออ่านประกอบ/เสริมความรู้ และใช้การปฏิบัติจริงร่วมกับหนังสืออ่านประกอบ/เสริมความรู้ตามลำดับ 2. ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย ตามหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่า สื่อการเรียนการสอนที่นักเรียนเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด คือ วีดิทัศน์ รองลงมาคือ หนังสืออ่านประกอบ/เสริมความรู้ หนังสือแบบเรียน ครูหรือผู้ปกครอง และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research was to study opinions of teachers and students concerning media utilization for affective domain on energy and environment conservation curriculum at the elementary education level. The instrument was a set of questionnaires. The sample consisted of 521 classroom teachers and 421 students in the elementary school were selected to join the pilot energy and environment conservation curriculum project. The data obtained were analyzed be using percentage. The results revealed that : can be summarized as the followings. 1. opinions of teachers concerning media utilization for affective domain on energy and environment conservation curriculum can be summarized as teh followings : 1.1 The highly appropriate instructional activities and media for affective domain in opinions of teachers were lecture together with books, discussion together books and practice together books in order. 1.2 opinions of teacher compare between teaching level, experience of teach about environment and energy conservation, experience of training about media and experience of instructional activities organization about energy and environment conservation. The results revealed were the highly instructional activities and media for affective domain in opinions all of teacher group were lecture accompany with books, discussion accompany with books and practice accompany with books in order. 2. opinions of student concerning media utilization for affective domain on energy and environment conservation curriculum findings of study that. The highly appropriate instructional media for affective domain were video, books, lesson text, teacher and parents and CAI in order.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9844
ISBN: 9743318364
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntana_Se_front.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Nuntana_Se_ch1.pdf780.74 kBAdobe PDFView/Open
Nuntana_Se_ch2.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Nuntana_Se_ch3.pdf734.29 kBAdobe PDFView/Open
Nuntana_Se_ch4.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Nuntana_Se_ch5.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Nuntana_Se_back.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.