Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10140
Title: การจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากการกระทำความผิดอาญา
Other Titles: Taxation of proceeds serived from criminal activity
Authors: รัฐพล โลนา
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Apirat.P@Chula.ac.th
Subjects: ภาษีเงินได้
เศรษฐกิจนอกระบบ
การริบทรัพย์
ความผิดทางอาญา
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบถึงแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากการกระทำความผิดอาญา ตลอดจนการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสม รวมทั้งวิเคราะห์ถึงแนวความคิดและกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบันทั้งในส่วนของเนื้อหาของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์กฎหมายไทย และกฎหมายเปรียบเทียบ โดยใช้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย เป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่า 1. ไม่มีการแบ่งแยกการบังคับใช้กฎหมายกับเงินได้ที่ได้มาโดยวิธีการที่ผิดกฎหมายต่างหากไปจากเงินได้ประเภทอื่น 2. ตัวอย่างจากการศึกษาวิจัยของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา ล้วนแต่มีการจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากการกระทำความผิดอาญาทั้งสิ้น และในบางประเทศถึงกับตั้งหน่วยงานเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเงินได้ที่ได้จากการกระทำความผิดโดยเฉพาะ 3. สำหรับประเทศไทยพบว่าไม่มีกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้นหากมีการจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากการกระทำความผิดอาญาจะต้องปรับใช้กฎหมายที่มีหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเช่นเดียวกับเงินได้ทั่วๆ ไป ผู้วิจัยเห็นว่าหลักเกณฑ์ทั่วไปอาจไม่เหมาะสมกับเงินได้ประเภทนี้ 4. ยิ่งไปกว่านั้นผลจากการขาดหลักกฎหมายที่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความซ้ำซ้อนของการบังคับใช้กฎหมาย เพราะเงินได้ที่ได้จากการกระทำความผิดอาญายังอยู่ภายใต้กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หากไม่มีกฎหมายภาษีที่ชัดเจน อาจทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายในส่วนอื่นๆ มีความสับสน งานวิจัยนี้จึงเสนอแนะว่า ควรสร้างหลักกฎหมายภาษีในเรื่องการจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากการกระทำความผิดอาญาให้มีความชัดเจน เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางกฎหมายในเรื่องนี้ และควรมีการแก้ไขปรับปรุงประมวลรัษฎากรในเรื่องประเภทของเงินได้ และเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินได้ที่ได้จากการกระทำความผิดอาญาอื่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาในเรื่องความซ้ำซ้อนและการขัดขวางการบังคับใช้กฎหมายที่อาจเกิดขึ้น
Other Abstract: The objectives of this research is to examine the legal concept of taxing proceeds derived from criminal activities and to devise the most appropriate methods of taxation. This research analyzes the effectiveness of the enforcement of Thai tax law regarding the issues both substantive and procedural aspects. The researcher also analyzes Thai law as well as conducts comparative analyzes using U.S. and Australian tax legislations in force. Findings: 1. There is no distinction in the enforcement of Tax law with regard to sources of income. Legal as well as illegal incomes are treated alike. 2. Research countriesʼ sampling, i.e. U.S.A. Australia, and Canada, reveals that proceeds derived from criminal activities are systematically taxed. In some countries there are special state organ to deal with the matter. 3. The law in Thailand regarding the matter is not specific. There is no special or systemic legislation dealing with illegally derived income. This may cause enforcement difficulties. 4. Moreover, without specific provision, it may result in the duplication and confusion of law enforcement activities because proceeds from illegal activities in Thailand are now subjected to many laws, e.g. Penal Code, Money Laundering law, Narcotic Control Law, etc. Therefore, enforcement of one law may create problems and obstructs the enforcement of others. This research proposes that specific Tax legislation concerning proceeds derived from criminal activities should be introduced into the Thai Tax system. In order to develop the concept into practical reality, The Thai Revenue Code should be amended to cover the more specific types of income and deductible expenses to truly reflect the fairness of the system of Taxation. Also, related laws should be amended to avoid enforcement duplication and conflicting enforcement.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10140
ISBN: 9741746857
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratapon.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.