Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1014
Title: กระบวนการสื่อสารในการเก็บข้อมูลของ "สวนดุสิตโพล"
Other Titles: Communication process in collecting data of Suan Dusit poll
Authors: นภาพรรณ ธนิสสร, 2522-
Advisors: อวยพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Uayporn.P@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารระหว่างบุคคล
การสัมภาษณ์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องกระบวนการสื่อสารในการเก็บข้อมูลของ "สวนดุสิตโพล" มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงกระบวนการสื่อสารของผู้สัมภาษณ์ที่มีต่อผู้ถูกสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลของ "สวนดุสิตโพล" และ 2) เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารของผู้สัมภาษณ์ที่มีผลต่อการได้รับความร่วมมือหรือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ถูกสัมภาษณ์ ในการเก็บข้อมูลของ "สวนดุสิตโพล" งานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพในการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ "สวนดุสิตโพล" จะเริ่มด้วยการวิเคราะห์ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อที่จะกำหนดวิธีการในการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างแต่ละประเภท โดยส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะเริ่มต้นด้วยขั้นตอนการทักทาย และตามด้วยการแนะนำตัวว่า "มาจากสวนดุสิตโพล" เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจในตัวผู้สัมภาษณ์ จากนั้นจะสร้างความสัมพันธ์โดยการเกริ่นนำถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโพลเพื่อหยั่งความสนใจของกลุ่มตัวอย่าง และรอให้กลุ่มตัวอย่างตอบรับหรือปฏิเสธแบบสอบถาม แล้วปิดการสนทนาด้วยการกล่าวขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ปัจจัยหลักที่จะเป็นตัวกำหนดการได้รับการตอบรับจากผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ลักษณะดึงดูดใจของคู่สื่อสารในรูปร่างหน้าตาและบุคลิกภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงและได้รับการตอบรับจากกลุ่มตัวอย่างได้ดี ทั้งนี้เมื่อเจ้าหน้าที่แต่งกายสุภาพเรียบร้อยจะได้รับการตอบรับที่รวดเร็วกว่าเจ้าหน้าที่ที่แต่งกายไม่สุภาพ โดยเจ้าหน้าที่ที่แต่งกายไม่สุภาพ จะต้องเพิ่มประโยคการสนทนามากขึ้นเพื่อที่จะทำให้ได้รับการตอบรับหรือได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ปัจจัยรอง คือ เกิดจากประสบการณ์และทักษะในการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดการตอบรับที่ดีขึ้น คือ มีความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามมากกว่าการที่จะให้ความมือเพราะต้องการปัดความรำคาญ หรือตอบแบบขอไปที นอกจากบุคลิกภาพของผู้สัมภาษณ์และประสบการณ์ในการเก็บข้อมูล รวมถึงทักษะในการสื่อสารของผู้สัมภาษณ์จะมีผลต่อการได้รับความร่วมมือหรือไม่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว แหล่งที่มาของผู้สัมภาษณ์ คือ "สวนดุสิตโพล" ในทัศนคติของผู้ถูกสัมภาษณ์เองก็ยังส่งผลต่อการได้รับความร่วมมือหรือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วยเช่นกัน
Other Abstract: The purposes of this research are 1) To study the communication process of interviewer to interviewee in collecting data of Suan Dusit Poll and 2) To study the communication method of interviewer in to be able to receive cooperation and not to be able to receive cooperation from interviewee in collecting data of Suan Dusit Poll. This research uses a qualitative method in collecting data from interview, questionnaire and observation. The communication process of Suan Dusit Poll's officer will begin with analysing the sample group of receiver to determine the accessing way for each kind of sample group. In general, the officer will start with greeting and follow by introducing themselfes that they come from "Suan Dusit Poll" to create more belief & trust in the interviewer, then theyll make a relationship by hinting the situation which is related to the poll's topic to let the interviewer interested in the topic and waiting for their approval or their refusal to answer, and finally closing the conversation by appreciating them for their answer. The main factor that determines the response of the interviewees is the physical attraction of the interviewers. It is an important factor for the officers to approach and to receive the response from the sample group. For example, the officers who dress politely will receive the response quicker than ones that dress impolitely. The officers who dress impolitely have to increase more conversation in order to get the interviewees' response or cooperation to answer the questionnaires. The second factor is the experience and the communication skills of the officers. This will create better response that is the interviewees will have the willingness to give the cooperation to answer the questionnaires than giving the cooperation because they want to avoid the annoyance or answer the questions reluctantly. In addition to the physical appearance, experience in collecting the data and communication skills of the interviewers that will effect the cooperation of the sample group, the attitude of the interviewees towards source of the interviewers; "Suan Dusit Poll" will effect the response of the interviewees as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1014
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.17
ISBN: 9741746237
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.17
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Napapan.pdf901.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.