Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10339
Title: พฤติกรรมจริยธรรมของตัวละครเอกชาวจีนในนวนิยายไทย
Other Titles: Chinese main characters' moral behavior in Thai novels
Authors: นิษฐา จันทปัญญาศิลป์
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์เนื้อหา
จริยธรรม
ตัวละครและลักษณะนิสัย
ชาวจีน
นวนิยายไทย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตที่จะนำมาใช้เป็นแบบอย่างที่ดีของคนสมัยใหม่ โดยการสำรวจและวิเคราะห์เนื้อหาด้านพฤติกรรมจริยธรรมของตัวละครเอกชาวจีนซึ่งสะท้อนอยู่ในนวนิยายเรื่องชาวจีนในเมืองไทย ได้แก่ ตันส่วงอู๋ ในจดหมายจากเมืองไทย, ก๋ง ในอยู่กับก๋ง, แป๊ะกิม ในกตัญญูพิศวาส, ทิจือ ในไผ่ต้องลม, เผิง เทียนชื่อ ในกระท่อมไม้ไผ่ และเหลียง สือพาณิชย์ ในลอดลายมังกร รวมทั้งศึกษาทัศนะของผู้เขียนเกี่ยวกับชาวจีนและหลักจริยธรรมของชาวจีน ในฐานะที่แหล่งที่มาของสาร รวม 4 ท่าน คือ โบตั๋น, หยก บูรพา, โสภาค สุวรรณ และ ประภัสสร เสวิกุล โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์จากเนื้อหาในนวนิยายและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าตัวละครเอกชาวจีนที่ศึกษานี้มีรูปแบบในการดำเนินชีวิตที่เน้นในเรื่องจริยธรรมเป็นหลัก โดย ตันส่วงอู๋, ก๋ง และ เหลียง สือพาณิชย์ มีพฤติกรรมจริยธรรมด้านความมีเหตุผลอยู่ในอันดับที่หนึ่ง ส่วนจริยธรรมที่เป็นแกนนำความประพฤติของ แป๊ะกิม, ทิจือ และ เผิง เทียนชื่อ ในอันดับสูงสุด ได้แก่ ความเมตตา กรุงณา ความกตัญญูกตเวที และความกล้าทางจริยธรรม ตามลำดับ นอกจากนั้น การวิจัยได้พบเช่นกันว่าตัวละครเอกเหล่านั้นได้แสดงให้เห็นระดับเหตุผลแห่งการกระทำในภาพรวมในระดับเพื่อผู้อื่นและสังคมมากที่สุด รองลงมาคือ เพื่ออุดมคติ เพื่อตนเอง และ ตามแรงกดดันของสภาวะสังคม และจากการวิเคราะห์เนื้อหานวนิยาย ผู้วิจัยได้พบว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตของตัวละครเอกทั้งหกสามารถจำแนกตามลักษณะพฤติกรรมทางจริยธรรมได้ 4 แบบ คือ พฤติกรรมจริยธรรมที่เน้นหนักในด้านการครองเรือนและการดำเนินชีวิตในสังคม ได้แก่ ตันส่วงอู๋ และ ก๋ง พฤติกรรมจริยธรรมที่เน้นหนักในการดำเนินชีวิตในสังคม ได้แก่ แป๊ะกิม และ เผิง เทียนชื่อ พฤติกรรมจริยธรรมที่เน้นหนักในด้านการบริหารงานและการดำเนินชีวิตในสังคม ได้แก่ ทิจือ และพฤติกรรมจริยธรรมที่เน้นหนักในด้านการครองเรือนและการบริหารงาน ได้แก่ เหลียง สือพาณิชย์ ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เขียนพบว่า ทัศนคติต่อชาวจีนและหลักจริยธรรมของชาวจีนมี 3 ประการด้วยกัน คือ ทัศนคติในด้านบวก เป็นของ โสภาค สุวรรณ และ ประภัสสร เสวิกุล ส่วนทัศนคติที่ค่อนข้างเป็นไปในทางลบและทัศนคติที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ได้แก่ โบตั๋น และ หยก บูรพา ตามลำดับ ทั้งนี้ผลจากการวิจัยได้ชี้ให้เห็นข้อสังเกตประการหนึ่งว่า ในขณะที่เขียนนวนิยายแต่ละเรื่อง ผู้ส่งสารหรือผู้เขียนทั้ง 4 ท่าน ได้แสดงบทบาทในการร่วมพัฒนาสังคมด้วยการสอดแทรกสาระที่สำคัญลงในนวนิยายของตน ผ่านทางเนื้อเรื่อง คำบรรยาย หรือถ้อยคำสนทนาของตัวละครทั้งทางตรงและทางอ้อม
Other Abstract: The purposes of this research are to study the way of life set as good examples for new generation by the methods of investigations and content analysis of six Chinese main characters' moral behaviors in the novels about Chinese in Thailand : Tan Saung-Oo in Jod Mai Jak Mueang Thai, Kong in Yu Kab Kong, Pae Kim in Kratunyou Pisawad, Ti Chue in Pai Tong Lom, Pueng Tien-shue in Kratom Mai Pai and Lieng Sue-panich in Lod Lai Mangkorn, also to interview the novelists' opinions about Chinese people and Chinese moral principles. The research findings are concluded that these main characters' way of life mainly based on moral principles : Tan Saung-Oo, Kong and Lieng Sue-panich represent reasonableness on the first rank whereas Pae Kim, Ti Chue and Pueng Tien-shue represent compassion, gratefulness and courage respectively. Apart from these moral behaviors, the main characters show the different reason of action : public benefit on the highest rank and ideal benefit, personal benefit and pressure of social condition as the second rank. From the content analysis, six main characters' way of life can be divided into 4 moral behaviors : Tan Saung-Oo and Kong strongly present marriage principle and way of life in the society. Pae Kim and Pueng Tien-shue strongly present way of life in the society. Ti Chue strongly presents business management and way of life in the society. Lieng Sue-panich strongly presents marriage principle and business management. According to the novelists' opinions about Chinese people and Chinese moral principles, Sopark Suwarn and Prapatsorn Sewikul have positive attitudes. Botan's attitude is rather negative while Yok Bhurapa's attitudes and both positive and negative. Another one finding is that the novelists play the role for developing society by directly and indirectly adding some moral notions in the novels through the narration and dialog in the stories.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10339
ISBN: 9743316418
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitta_Ch_front.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Nitta_Ch_ch1.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Nitta_Ch_ch2.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open
Nitta_Ch_ch3.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Nitta_Ch_ch4.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
Nitta_Ch_ch5.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Nitta_Ch_ch6.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Nitta_Ch_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.