Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10432
Title: ปัญหาที่เกิดจากการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
Other Titles: The Ombudsman complaint investigation process
Authors: นฤมล โพธิ์แจ่ม
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Nantawat.B@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา -- ไทย
รัฐธรรมนูญ -- ไทย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงอำนาจหน้าที่และวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียน ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รวมทั้งศึกษาถึงปัญหาที่เกิดจากการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ของผู้ตรวจการ แผ่นดินของรัฐสภา ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อันจะส่งผลให้สถาบัน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า 1. ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อให้ใช้อำนาจตรวจสอบฝ่ายปกครองให้สมดังเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้เท่าที่ควร 2. ความขัดแย้งในอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรอิสระด้วยกัน ได้แก่ ปัญหาการใช้อำนาจเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 และผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 24/2543 ส่งผลให้ผลให้องค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลปกครอง และสถานะของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 43 ที่กำหนดให้ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีสิทธิและหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี 3. การบริหารงานของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ในข้อจำกัดทางด้านบุคลากร โดยพิจารณาจากสถิติเรื่องร้องเรียนที่ไม่สมดุลกับจำนวนเจ้าหน้าที่สอบสวน ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาความล่าช้าในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน ประกอบกับข้อจำกัดในการปฏิบัติงานด้านวิชาการ ที่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี
Other Abstract: To study legal mandate and jurisdiction of the Ombudsman as well as complaints investigation process, as prescribed by the Constitution of Kingdom of Thailand, B.E. 2540 [1997]. Problems and obstructions aroused by the operation were also be explored and analyzed in order to find a proper solution for a more effective implementation to the office of the Ombudsman. Fact finding of this paper are followings: 1. Most people do not know the Ombudsman and its functions, resulting in the lack of opportunity in scrutinizing the mal-administrative government organization under the willing of the Constitution. 2. There are some conflicts and overlaps in the authority among non-government organizations instituted under the Constitution, B.E. 2540 [1997], for example, problem in filing cases with opinions in the Constitutional Court or the Administration Court under Section 198 of the Constitution. According to the Constitution Court Decision no. 24/2543, the court decided that the non-government organizations instituted under the Constitution are not under the Administrative Court. Moreover, according to Section 43 of the on Establishment of Administrative Courts and Administrative Courts Procedure, B.E. 2542 [1999] a status of the Ombudsman is as a plaintiff. 3. In operational management of the Office of the Ombudsman, the number of investigators proportionally does not balance with the number of complaints received, which have resulted in delayed investigation. This situation is also triggered by limitations in technical research that does not generate sufficient research papers for amendment of laws and regulations.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10432
ISBN: 9741714688
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narumon.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.