Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10709
Title: ความไวต่อการโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึก และทางปัญญาของเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึก และทางปัญญา
Other Titles: The susceptibility to affective and cognitive persuasion of affectively and cognitively based attitudes
Authors: ชุติมา ชัยธชวงค์
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Subjects: ทัศนคติ
การโน้มน้าวใจ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนเจตคติโดยรวม เมื่อเจตคติมีพื้นฐานทางปัญญาและมีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึก ต่อการโน้มน้าวใจทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับรส การโน้มน้าวใจทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับกลิ่น การโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยรส และการโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยกลิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 81 คน แบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 8 เงื่อนไข ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อพื้นฐานเจตคติต่อเครื่องดื่มเกิดจากรส เจตคติโดยรวมต่อเครื่องดื่มไม่ได้มีพื้นฐานมาจากอารมณ์ความรู้สึก (p.01) 2. เมื่อพื้นฐานเจตคติต่อเครื่องดื่มเกิดจากการอ่านข้อมูลเกี่ยวกับรส เจตคติโดยรวมต่อเครื่องดื่มมีพื้นฐานมาจากปัญญา (p<.05). 3. เจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึกมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติโดยรวมไม่แตกต่างจากเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญา 4. การโน้มน้าวใจทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับรส เปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้ไม่แตกต่างจากการโน้มน้าวใจทางปัญญาด้วยกลิ่น 5. การโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยรส เปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้น้อยกว่าการโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยกลิ่น (p<.05) 6. การโน้มน้าวใจทางปัญญาต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญาเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้ไม่แตกต่างจากการโน้มน้าวใจทางปัญญาต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึก 7. การโน้มน้าวในทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับรสต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญาเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้ไม่แตกต่างจากการโน้มน้าวในทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับกลิ่นต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญา 8. การโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้น้อยกว่าการโน้มน้าวในทางอารมณ์ความรู้สึกต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญา (p<.05) 9. การโน้มน้าวในทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยรสต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้น้อยกว่าการโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยกลิ่นต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึก (p<.05) 10. การโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้น้อยกว่าการโน้มน้าวใจทางปัญญา (p<.01)
Other Abstract: The purpose of this research was to study overall attitude changeing based on affective and cognitive attitude by cognitive-taste persuasion, cognitive-smell persuasion, affective taste persuasion, and affective-smell persuasion. The participants, 81 Chulalongkorn University undergraduate students, were randomly assigned equally to each of 8 conditions. The results of the experiment are as follow: 1) When an attitude was formed by taste, overall attitude is not based on affection (p<.01). 2) When an attitude was formed by reading information about taste, overall attitude is based on cognition (p<.05). 3) Overall attitude change based on affective attitude does not differ from change based on cognitive attitude. 4) Overall attitude change based on cognitive-taste persuasion does not differ from change based on cognitive-smell persuasion. 5) Overall attitude change based on affective-taste persuasion was more effective than change based on affective-smell persuasion (p<.05). 6) Overall attitude change for cognitive persuasion on cognitive attitude does not differ from change for cognitive persuasion on affective attitude. 7) Overall attitude change for cognitive-taste persuasion on cognitive attitude does not differ from change for cognitive-smell persuasion on cognitive attitude. 8) Affective persuasion on affective attitude produces less overall attitude change than affective persuasion on cognitive attitude (p<.05). 9) Affective-taste persuasion on affective attitude produces less overall attitude change than affective-smell persuasion on affective attitude (p<.05) 10) Affective persuasion produces less overall attitude change than cognitive persuasion (p<.01)
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10709
ISBN: 9740302238
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutima.pdf804.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.