Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10797
Title: โจรในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางยุคการปฏิรูปการปกครอง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Other Titles: Bandits in the central plain during the great reform under King Chulalongkorn
Authors: พีรศักดิ์ ชัยได้สุข
Advisors: ฉลอง สุนทราวาณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Chalong.S@Chula.ac.th
Subjects: โจรผู้ร้าย -- ไทย
ระบบอุปถัมภ์ -- ไทย
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 5
ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึง "โจร" ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางยุคการปฏิรูปการปกครอง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้ "โจร" มีจำนวนมากขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของ "โจร" รวมถึงมาตรการของรัฐในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา "โจร" ผลการวิจัยพบว่า จำนวน "โจร" ที่มีมากในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง ยุคการปฏิรูปการปกครอง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีผลมาจากเศรษฐกิจการค้าข้าวที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจัยการผลิตที่สำคัญได้แก่ กระบือและเงินทุนเกิดภาวะขาดแคลน ทำให้ "โจร" ก่อคดีปล้นหรือลักขโมยปัจจัยการผลิตดังกล่าวขึ้นทั่วไป แต่จากการใช้ชีวิตของสังคมภายใต้ "ระบบอุปถัมภ์" ซึ่งเป็นจารีตของสังคมมาช้านาน ทำให้ "โจร" บางกลุ่ม เข้าไปพึ่งพิงผู้มีอำนาจ จนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ อย่างไรก็ตามพบว่ามีมาตรการในการแก้ไขปัญหา "โจร" อย่างเข้มงวดมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะภายหลังการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2435 แต่ด้วยเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของระบบอุปถัมภ์ และปัญหาประสิทธิภาพของระบบใหม่ ทำให้การแก้ไขปัญหา "โจร" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
Other Abstract: To study bandits in the Central Plain during the Great Reform under King Chulalongkorn, forcusing on the causes leading to the increase of bandits, factors sustaining the existence of bandits, as well as on the government measures for a solution. The research finds that the increase of bandits during the period under study was a direct result of the rapid expansion of rice economy. A deficiency of certain means of production, such as buffaloes and capital, caused a widespread robbery of such means of production. However, under the long standing patron-client relationship, many 'practicing' bandits during the pre-reform days came under protection of authorities and could live their normal lives in the society. After the 1892 administrative reform, the government imposed stringent measures to solve the 'bandits' problem. But such 'clean up' attempt the reign of Chulalongkorn found very little success due mainly to the persistence of the patron-client relationship and the administrative inefficiency of the new government system
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10797
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.398
ISBN: 9741714327
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.398
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peerasak.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.