Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10800
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนการแปรสภาพสำหรับโรงงานผลิตเครื่องประดับเงินแบบหล่อ
Other Titles: The analysis of conversion cost in silver casting jewelry factory
Authors: ภาณุพงศ์ เอกอนันต์กุล
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: rsuthas@hotmail.com, Suthas.R@Chula.ac.th
Subjects: ต้นทุนการผลิต
การบัญชีต้นทุน
เครื่องประดับเงิน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการดำเนินงานและเสนอระบบการจัดทำต้นทุนแปรสภาพ ให้สอดคล้องกับการผลิตของโรงงานเครื่องประดับ และประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณต้นทุน เพื่อให้โรงงานสามารถทราบถึงต้นทุนของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด และวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดต้นทุนได้ โดยใช้โรงงานตัวอย่างซึ่งเป็นโรงงานผลิต เครื่องประดับเงินแบบหล่อขนาดย่อมเป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงงานตัวอย่างพบว่า โรงงานตัวอย่างประสบปัญหาในด้านการคำนวณหาต้นทุนผลิตภัณฑ์ และการกำหนดราคาขาย ซึ่งมีสาเหตุเนื่องจากไม่มีระบบการคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด จึงได้เสนอระบบการคำนวณต้นทุนแปรสภาพที่ สอดคล้องกับการผลิตของโรงงานตัวอย่าง โดยออกแบบเอกสารและรายงานที่จำเป็น ในการจัดทำระบบการเก็บข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณต้นทุน แยกค่าใช้จ่ายลงตามแผนกที่เกี่ยวข้อง จัดประเภทค่าใช้จ่ายเป็นค่าแรงงานทางตรง ค่าโสหุ้ยการผลิตคงที่ ค่าโสหุ้ยการผลิตแปรผัน คำนวณหาต้นทุนของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุน และพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อช่วยในการคำนวณต้นทุน จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขึ้นกับความยาก-ง่าย จะจัดสรรต้นทุนด้วยชั่วโมงแรงงานทางตรง และผลิตภัณฑ์ที่การผลิตไม่ขึ้นกับความยาก-ง่ายจะจัดสรรต้นทุนด้วยน้ำหนักผลิตภัณฑ์ ซึ่งการจัดทำระบบต้นทุนแปรสภาพ ทำให้โรงงานจัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เข้าตามแผนกได้ตามหลักการและมีเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของค่าใช้จ่าย และช่วยให้โรงงานทราบต้นทุนที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด และทราบโครงสร้างต้นทุนของผลิตภัณฑ์โดยละเอียด นอกจากนี้ระบบต้นทุนแปรสภาพยังช่วยในการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนแต่ละชนิด ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้สามารถนำไปใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ ควบคุม วัดประสิทธิภาพ และปรับปรุง การดำเนินงานของโรงงาน และช่วยผู้บริหารตัดสินใจในการกำหนดราคาขาย เสนอราคาขาย การตัดสินใจผลิตเองหรือจ้างผลิต รวมถึงการกำหนดส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ได้ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้พัฒนาขึ้น สามารถช่วยให้โรงงานลดเวลาและข้อผิดพลาดในการคำนวณต้นทุนได้
Other Abstract: To develop a suitable conversion cost system for a jewelry factory and to use computer program to facilitate the cost calculation. The cost system is developed for costing each product and finding the factors that affect the cost of production. In this thesis, a silver casting jewelry factory is studied. According to the study, the factory encounters problems of product cost calculating and price setting. The conversion cost system is established for solving the problems. To establish the conversion cost system, new essential documents and reports are designed for collecting information regarding cost and cost drivers. Models to allocate cost to products are developed to find the cost of each product. In order to facilitate the cost calculation, a computer program is developed. In conclusion, this study shows that when there are differences in difficulty of production, cost should be allocated by direct labor hour. For products, which have no difference in difficulty of production, cost is determined by weight. The result of conversion cost development helps the factory set criteria to allocate cost to products in accordance with appropriate concept and can achieve the actual cost of each product so to be used for managing and controlling manufacturing cost more effectively. The computer program, which is developed in this thesis, can reduce time and human error in cost calculation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10800
ISBN: 9740310044
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phanupong.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.