Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11355
Title: สถานภาพทางการศึกษาสื่อมวลชนไทยโดยนักวิจัยชาวต่างประเทศ
Other Titles: Thai mass media studies by foreign researchers
Authors: วิไลวรรณ รุ่งเรืองรัตน์
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: สื่อมวลชน -- ไทย
ไทยศึกษา
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจสถานภาพทางการศึกษาสื่อมวลชนไทยของชาวต่างประเทศ ในด้านแนวคิด วิธีวิทยา และองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา โดยศึกษาจากงานวิจัยของชาวต่างประเทศที่สามารถสืบค้นต้นฉบับได้ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 39 งาน ได้แก่งานที่ศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955-1999 วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเอกสาร โดยงานทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์สรุปตามประเด็นที่กำหนดไว้ 13 ประเด็น คือ ผู้ศึกษาหรือหน่วยงานที่ศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษา ช่วงที่ศึกษา ลักษณะของงานวิจัย สื่อที่เลือกศึกษา แนวคิดในการศึกษา วิธีวิทยา ปริบทพื้นที่และกลุ่มคนที่ศึกษา การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ การเสนอแนะในงานวิจัย ลักษณะอื่น ๆ ที่มีการศึกษาร่วม และผลการศึกษา การวิเคราะห์งานวิจัยของชาวต่างประเทศจะแบ่งออกเป็นสองช่วงตามพัฒนาการของทฤษฎีสื่อสารมวลชน โดยงานในช่วงแรกเป็นงานระหว่างทศวรรษที่ 50-60 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของหน่วยงานราชการจากสหรัฐอเมริกาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองในช่วงสงครามเย็น ส่วนงานในช่วงที่สองคือตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา จะเป็นการศึกษาด้วยวัตถุประสงค์ทางวิชาการโดยนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในรูปแบบและความสนใจที่หลากหลาย รูปแบบของงานวิจัยจะมีความสอดคล้องกับพัฒนาการของแนวการศึกษาสื่อมวลชน โดยงานในระยะแรกเป็นงานที่ศึกษาในแนวผลกระทบระยะสั้นด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก งานวิจัยในช่วงต่อมาจะปรากฎในแนวคิด 9 ลักษณะ ได้แก่ การศึกษาผลกระทบระยะสั้นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ แนวโครงสร้างหน้าที่ การกำหนดประเด็นข่าวสาร การวางกรอบแนวคิดในสาร การสร้างความเป็นจริงทางสังคม วัฒนธรรมวิพากย์เบอร์มิงแฮม ผลกระทบระยะยาว และแนวเศรษฐศาสตร์การเมือง รวมทั้งการศึกษาสื่อมวลชนในเชิงประวัติ วิธีการวิจัยในช่วงหลังจะปรากฏในลักษณะการศึกษาทั้งแบบเชิงปริมาณ การศึกษาเชิงปริมาณประกอบกับเชิงคุณภาพ และการศึกษาเชิงคุณภาพในหลายลักษณะในแง่ประเด็นการศึกษาพบว่ามีการเปลี่ยนจากการศึกษาในประเด็นทางการเมืองในช่วงทศวรรษที่ 50-60 มาเป็นการเน้นประเด็นทางวัฒนธรรมตั้งแต่ช่วงหลังทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา.
Other Abstract: This is a document research on Thai studies in mass media by foreign researchers. The study focuses on how the foreign researchers applied approach and methodology, including what they found in their study. Data collected from 39 documents, dated from 1955 to 1999, were analysed in 13 categories: sources, objectives of the study, period of study, type of work, media studied, approach, methodology, area and people involved in the study, features compared in the study, suggestions in the study, non-media features treated in the study, and findings. Data were divided into 2 groups according to the chronological development of mass communication theories. The first group dealt with research conducted during the 1950s and 1960s, mostly from those of the US government organisations for political purposes under the cold war. The second group, on the other hand, comprised research papers and journal articles conducted by scholars for academic purposes, which appeared in different forms of study. The development of Thai mass media studies corresponds to the chronological development of mass communication theories. The first-group documents are mainly survey research, which employed short-term impact approach, while the second ones employed 9 approaches: short-term impact, attitude change, structural-functionalism, agenda-setting, frame analysis, social construction of reality, British cultural study, cultivation effects, political-economy, and a historical approach. Methodologies applied to the second-group documents were in either quantitative or qualitative paradigms, or both. And issues were shifted from political stances to cultural perspectives ever since.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11355
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.124
ISBN: 9743348158
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.124
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vilaivan_Ro_front.pdf776.53 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ro_ch1.pdf772.86 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ro_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ro_ch3.pdf770.94 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ro_ch4.pdf863.48 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ro_ch5.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ro_ch6.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ro_ch7.pdf780.09 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ro_ch8.pdf784.84 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ro_back.pdf773.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.