Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1138
Title: กลยุทธ์การสื่อสารภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Communication strategies on local wisdom of Buri Ram intellectuals
Authors: พรทิพย์ ชนะค้า, 2523-
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: ผู้นำชุมชน
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะ และบทบาทของปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งยังศึกษากลยุทธ์การสื่อสารในการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งปราชญ์ชาวบ้านเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาของชนบท ผลการวิจัยพบว่าปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์มีคุณลักษณะของความเป็นผู้นำโดยธรรมชาติอย่างเด่นชัด ซึ่งความเป็นผู้นำโดยธรรมชาตินี้มาจากคุณลักษณะด้านต่างๆ ของปราชญ์ชาวบ้านที่ทำให้ได้รับความเคารพนับถือจากชาวบ้าน คุณลักษณะเด่นๆ เหล่านั้น ได้แก่ ความสามารถทางการเกษตร รวมทั้งความสามารถทางด้านอื่นๆ อาทิ การบริหารหมู่บ้าน ความสามารถทางการสื่อสาร เป็นต้น นอกจากนี้ปราชญ์ชาวบ้านยังยอมรับความรู้และวิทยาการใหม่ๆ แสวงหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ยึดติดกับความคิดเก่าๆ และนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาตนเอง ครอบครัว และหมู่บ้านด้วยหัวใจที่มุ่งมั่นในการพัฒนา ส่วนบทบาทของปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์นั้นพบว่า ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์มีบทบาทด้านต่างๆ มากมาย อาทิ เป็นผู้ริเริ่มเกษตรกรรมทางเลือกใหม่ในหมู่บ้าน และแนะแนวทางเกษตรกรรมทางเลือกให้แก่ชาวบ้าน รวมทั้งเป็นผู้กระจายข่าวสารจากเจ้าหน้าที่พัฒนาไปยังชาวบ้าน บทบาทเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทการเป็นผู้นำในการพัฒนาทางปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์อย่างชัดเจน ทางด้านกลยุทธ์การสื่อสารเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า กลยุทธ์หลักๆ ที่ปราชญ์ชาวบ้านนำมาใช้ และเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลนั้น ได้แก่ การสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองด้วยการสื่อสารระหว่างบุคคล การใช้ภาษาท้องถิ่น นอกจากนี้ยังใช้การสาธิต และการเปิดพื้นที่เกษตรกรรมของตนเองให้ชาวบ้าน และบุคคลภายนอกเข้ามาดูงาน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้านมากยิ่งขึ้น ทางด้านเนื้อหาที่ปราชญ์ชาวบ้านใช้นั้นจะเป็นเนื้อหาที่มาจากประสบการณ์ของปราชญ์ชาวบ้านในการทำเกษตรกรรม มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และชี้ให้ชาวบ้านเห็นปัญหาของตนเอง รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นด้วย
Other Abstract: The objectives of this research were to study the characteristics, the roles and the communication strategies of the Buri Ram intellectuals in reaching out their wisdom. To collect the data under study, a qualitative research method, a documentary research and an in-depth interview, were used. The research findings were as follows : 1. The Buri Ram intellectuals were characterized by natural leadership and respectfulness to the villagers. The key characteristics were their competance in agriculture administration and effective communication strategies, determination constant, learning new knowledges and applying to self, family and village developing ; 2. The key roles of the Buri Ram intellectuals were pioneer and counsellor in agricultural alternatives, and information agent ; 3. The effetive communication stategies which the Buri Ram intellectuals used were interpersonal communication and informal elimate, using dialect, demonstration, and open-house. The content of communication was their experiences and easy to understand. Problem solvings were also suggested.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1138
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.32
ISBN: 9741761104
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.32
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornthip.pdf10.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.