Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11659
Title: ระบบการจัดตารางการซ่อมและการจัดการอะไหล่ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการรถปรับอากาศ ไมโครบัส
Other Titles: Scheduling system for breakdown repairs and management of spare parts : case study of a microbus operator
Authors: วิทยาวุธ เสรีวิริยะกุล
Advisors: เหรียญ บุญดีสกุลโชค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Rein.B@Chula.ac.th
Subjects: รถประจำทางปรับอากาศ
รถประจำทางปรับอากาศ -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการจัดลำดับการซ่อมรถเพื่อลด เวลารอคอยระหว่างการซ่อมแซมและจัดสำรองอะไหล่งานซ่อม ของบริษัทเดินรถประจำทางปรับอากาศไมโครบัส งานวิจัยนี้ได้ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การจัดลำดับงานซ่อมใหม่เพื่อหาวิธีที่จะลดเวลารอคอยระหว่างการซ่อมแซมซึ่ง จากเดิมบริษัทไมโครบัส ได้ทำการจัดลำดับการซ่อมโดยใช้เกณฑ์ รถคันไหนมาถึงก่อนจะได้รับบริการก่อน (FCFS) ซึ่งผลจากการจัดลำดับงานด้วยวิธีนี้ทำให้มีรถจอดรอค้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลจากการวิจัยได้เสนอวิธีการจัดลำดับงานซ่อมแซมใหม่คือ การจัดลำดับการซ่อมแบบ Short Processing Time (SPT) ซึ่งมีเกณฑ์ในการจัดลำดับคือ งานที่ใช้เวลาในการซ่อมน้อยที่สุดจะได้รับการให้บริการก่อน และการจัดลำดับแบบ Hodgson's Algorithm ซึ่งมีเกณฑ์ในการจัดลำดับคือรถที่ซ่อมเสร็จไม่ทันเวลาส่งมอบจะได้รับการให้ บริการทีหลัง โดยในงานวิจัยได้ทำการทดสอบผลของการจัดลำดับการซ่อม โดยการสร้างแบบจำลองของระบบงานซ่อม แล้วจึงนำผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดลำดับทั้ง 3 วิธีดังกล่าวมาทำการทดสอบค่าทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งผลที่ได้พบว่า การจัดลำดับแบบ SPT และ Hodgson's Algorithm สามารถลดเวลารอคอยระหว่างการซ่อมแซมได้โดยเฉลี่ย 60 นาที/วัน/คัน และสามารถเพิ่ม % ความพร้อมในการใช้งานของรถ(%รถที่ซ่อมเสร็จทันกำหนด) มากขึ้นกว่าเดิม 10.2% การจัดสำรองอะไหล่งานซ่อม เนื่องจากการจัดการอะไหล่ของบริษัทไมโครบัส ได้ทำการจัดการอะไหล่โดยใช้ความชำนาญของพนักงานเป็นหลักจึงทำให้อะไหล่หลาย ชนิดมีการขาดแคลน ในขณะที่อะไหล่บางชนิดมีมาก เกินความจำเป็น นอกจากนี้การกำหนดนโยบายการดูแลอะไหล่ได้ให้ความสำคัญทัดเทียบกันหมด งานวิจัยนี้จึงเสนอการจัดการอะไหล่โดยจัดกลุ่มอะไหล่ตามความสำคัญ โดยใช้เทคนิค ABC Analysis แล้วจึงกำหนดนโยบายการควบคุมดูแลอะไหล่แต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังทำการกำหนด ปริมาณสั่งซื้อ, จุดสั่งซื้อและมูลภัณฑ์กันชน (Safety Stock) โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากการเปรียบเทียบพบว่าสามารถ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการอะไหล่ได้ประมาณ 3,132,170 บาทต่อปี
Other Abstract: This thesis has the objective to study the ordinary of car reparation in order to reduce the waiting period and study the management of the reserved spare part for reparation of MICRO BUS operator This thesis has been divided into 2 part, which is; To rearrange the ordinary of car reparation in order to reduce the waiting period. Previously, Micro Bus's ordinary of car reparation was based on "First Come First Serve (FCFS)" basis which the result of this method would affect to the number of cars on the waiting line. According to the research, 2 new ordinary of car reparations were introduced, Short processing time (SPT) and Hodgson's algorithm. "Short processing Time" is the method to arrange the order of car reparation by focusing on the time of reparation, the shorter time usage will be get the priority over the longer time usage. "Hodgson's Algorithm" is focusing on the finishing of reparation, the car which would rather be repaired by spending time longer than the expected delivery period will be passed it priority to another car. The research has tested all 3 ordinary methods of the car reparation by creating a reparation model and statistically calculating the result of the test at the significant number 0.05. The report has shown that SPT and Hodgson's Algorithm can reduce the waiting time at the average of 60 Minute/day/car and increase the percentage of ready-to-use car (on-time reparation) by 10.2%. The management of the reserved spare part for reparation because the previous management was designed by the skill of the workers, therefore some of spare parts were short while some were overstocked. Moreover, the policy to maintain the stock is equal treatment. This research has introduced to manage the spare part by grouping based on the important level using ABC analysis before set up the appropriate policy for maintenance and controls the spare part. In addition, this research also controls the quantity of order, ordered point and safety stock by concerning on all related condition. The comparison of the old method and the introduced method has shown that the expenses for spare part were safe for the approximately 3132170 bath per year.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11659
ISBN: 9740305016
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vithayavut.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.