Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11691
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรัญ แต้ไพสิฐพงษ์ | - |
dc.contributor.author | นภาวิณี วินิจฉัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-11-19T01:40:49Z | - |
dc.date.available | 2009-11-19T01:40:49Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740303129 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11691 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้วัดอัตราการหายใจของมะเขือเทศ กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน และพริกชี้ฟ้า ในระบบปิดที่อุณหภูมิ 5+-1, 11+-1 และ 29+-1 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิต่ออัตราการหายใจ และได้วัดค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์ ด้วยอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นที่อุณหภูมิ 5+-1, 11+-1 และ 29+-1 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิต่อค่าความสามารถในการซึมผ่าน ของก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านฟิล์มพอลิเอทธิลีนความหนาแน่นต่ำ และฟิล์มพอลิโพรพิลีน สำหรับอัตราการหายใจนั้น ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า กลไกการหายใจของมะเขือเทศ กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน น่าจะเป็นไปตามกลไกของแบบจำลองอัตราการหายใจของไมเคิลลิสเมนเทน ชนิดมีการยับยั้งแบบอันคอมเพททิทีฟ (Michaelis-Menten uncompetitive type equation) หรือชนิดมีการยับยั้งแบบนอนคอมเพททิทีฟ (Michaelis-Menten noncompetitive type equation) ส่วนพริกชี้ฟ้าน่าจะเป็นไปตามกลไกของแบบจำลองอัตราการหายใจ ของไมเคิลลิสเมนเทนชนิดมีการยับยั้งแบบอันคอมเพททิทีฟ พารามิเตอร์ Vm (ค่าอัตราการหายใจที่สูงที่สุด) ของทุกแบบจำลองมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นสำหรับผักและผลไม้สดทั้งสี่ชนิด ส่วนพารามิเตอร์ Km (ค่าคงที่ไมเคิลลิสเมนเทน) และ Ki (ค่าคงที่ของการยับยั้ง) ของแต่ละแบบจำลองแปรผันกับอุณหภูมิในลักษณะต่างๆ กันขึ้นกับชนิดของผักและผลไม้สด แต่โดยรวมอัตราการหายใจของผักและผลไม้สดทั้งสี่ชนิด แปรผันกับอุณหภูมิตามสมการของอาร์รีเนียส (Arrhenius equation) สำหรับค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์นั้น ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า อุปกรณ์การทดลองที่ได้จัดสร้างขึ้นสามารถใช้วัดค่าความสามารถในการซึมผ่าน ของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์ได้ และพบว่าค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์ ขึ้นกับโครงสร้างของฟิล์มพอลิเมอร์ ชนิดของก๊าซ และแปรผันกับอุณหภูมิตามสมการอาร์รีเนียส ฟิล์มพอลิเอทธิลีนความหนาแน่นต่ำ มีค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซที่อุณหภูมิอนันต์ (P0) สำหรับก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 8.447 และ 4.507 sq.cm s-1 ตามลำดับ และค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซ (Ep) เท่ากับ 49.29 และ 45.98 kJ mol-1 ตามลำดับ ฟิล์มพอลิโพรพิลีนมีค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซที่อุณหภูมิอนันต์ (P0) สำหรับก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 1.130 และ 1.109 sq.cm s-1 ตามลำดับ และค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซ (Ep) เท่ากับ 45.17 และ 43.34 kJ mol-1 ตามลำดับ | en |
dc.description.abstractalternative | This work had experimentally measured the respiration rates of tomato (Lycopersicon esculentum Mill), banana (Musa acuminata balbisiana), orange (Citrus reticulata Blanco) and long cayenne pepper (Copsicum annuum var acuminatum) in the closed system at 5+-1, 11+-1 and 29+-1 ํC to determine the effects of temperature on the respiration rate. This work also measured the gas permeability of low density polyethylene and polypropylene films for oxygen and carbon dioxide at 5+-1, 11+-1 and 29+-1 ํC to determine the effects of temperature on the gas permeability. For respiration rate, the results showed that the respiration mechanism of tomato, banana, and orange either followed the Michaelis-Menten uncompetitive type equation or Michaelis-Menten noncompetitive type equation. The respiration machanism of long cayenne pepper followed the Michaelis-Menten uncompetitive type equation. The parameter Vm (maximum respiration rate) of both Michaelis-Menten equations increased with increasing temperature for all four produces. However, the parameters Km (Michaelis-Menten constant) and Ki (Inhibition constant) of each Michaelis-Menten equation varied differently with temperature depending on type of produce. Overall, respiration rate of each produce varied with temperature according to Arrhenius equation. For gas permeability, the results showed that the built apparatus was suitable for measuring the gas permeability. The gas permeability depended on morphology of the polymeric film, type of permeate gas, and varied with temperature according to Arrhenius equation. The pre-exponential factor (P0) of gas permeability of LDPE film for oxygen and carbon dioxide were at 8.447 and 4.507 sq.cm. s-1, respectively, and the activation energy of gas permeability (Ep) were at 49.29 and 45.98 kJ mol-1, respectively. The P0 of PP film for oxygen and carbon dioxide were at 1.130 and 1.109 sq.cm. s-1, respectively, and the Ep were at 45.17 and 43.34 kJ mol-1, respectively. | en |
dc.format.extent | 4433052 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อาหาร -- การบรรจุหีบห่อ | en |
dc.subject | พืช -- การหายใจ | en |
dc.subject | ฟิล์มพลาสติก | en |
dc.subject | ผัก -- การเก็บและรักษา | en |
dc.subject | ผลไม้ -- การเก็บและรักษา | en |
dc.title | ผลกระทบของอุณหภูมิต่ออัตราการหายใจของผักและผลไม้สด และค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์ | en |
dc.title.alternative | Effects of temperature on the respiration rate of fresh produce and the gas permeability of polymeric film | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมเคมี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Varun.T@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Napawinee.pdf | 4.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.