Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11738
Title: การนำวิธีการรต่อรองคำรับสารภาพมาใช้ในคดียาเสพติด
Other Titles: Plea bargaining in narcotic cases
Authors: ณัฐพล เรืองนุ่ม
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การต่อรองคำรับสารภาพ
ยาเสพติด
พยานหลักฐาน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันการกระทำความผิดยาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญากับผู้กระทำความผิดยาเสพติด ที่มีสถิติคดดีสูงกว่า 60% ของคดีอาญาทุกประเภท ในขณะที่การบังคับใช้กฎหมายและการแสวงหาพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินการกับผู้กระทำผิดเหล่านี้ไม่ประสบผลสำเร็จ ที่จะสามารถสาวไปถึงตัวการใหญ่ผู้อยู่เบื้องหลังได้ เนื่องจากขาดพยานหลักฐาน วิธีการต่อรองคำรับสารภาพจึงเข้ามาเป็นมาตรการ ในการแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานปราบปรามยาเสพติด โดยการเจรจาต่อรองกับผู้ต้องหาเพื่อให้การรับสารภาพ และให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานในการแสวงหาพยานหลักฐาน ซึ่งวิธีการต่อรองคำรับสารภาพดังกล่าวสามารถกระทำได้ โดยการลดหรือเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาที่อยู่บนพื้นฐาน ขององค์ประกอบความผิดเดิม หรือจะต่อรองคำรับสารภาพ โดยวิธีการเสนอแนะโทษที่เหมาะสมให้กับศาล เมื่อมีการนำวิธีการต่อรองคำรับสารภาพมาใช้ในการดำเนินคดียาเสพติด รัฐจะสามารถแสดงหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดี กับตัวการที่อยู่เบื้อหลังการกระทำผิดและทรัพย์สิน ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันตัวผู้ต้องหาก็ได้มีโอกาสกลับตัว โดยให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่และได้รับการลงโทษที่ต่ำลง ซึ่งจะเป็นผลดีในการปรับปรุงแก้ไขให้กลับเข้าสู่สังคม วิธีการต่อรองคำรับสารภาพนี้จะนำมาใช้ได้อย่างเป็นผล ก็ต่อเมื่อผู้ต้องหานี้ จะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายอย่างครบถ้วนแล้ว และตัดสนใจที่จะเลือกให้การรับสารภาพและร่วมมือกับเจ้าพนักงาน ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นการละเมิดต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกดำเนินคดี และได้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังพยานหลักฐาน และบทกำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
Other Abstract: At present, narcotic crime is the major problem of the nation and from the statistics of criminal procedure to these narcotic criminals, it shows that the number is above 60% of the total crimes. Consurrently, the law enforcement and evidence searching to punish these criminals are not successful enough to get closer to the main leaders due to the lack of evidence. Plea bargaining has then become the methodology for evidence searching of the drug enforcer. By means of enforcer's negotiations with the defendants for plead guilty and co-operation, the enforcer can reduce or adapt the charges or suggest an appropriate charges to the court but still based on the original charges. When plea bargaining is used in the narcotic cases, the state can effectively find the evidence to impose the law against the principal and the belonging relating to the case. At the same time, the defendant would have the chance to change their mind and turning to co-operate with the drug enforcer thus would get a lower punishment and a chance to get back into the societies. This bargaining will be used efficiently only when the defendant has been totally protected by the law and decided to accept the bargaining and co-operate with the drug enforcer which would not be considered to transgress the rights of the defendant, and also adjustment of law relating to evidence hearing and rule in narcotic case.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11738
ISBN: 9741304595
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natapol.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.