Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12323
Title: การทดสอบความสามารถของวิธีรังวัดด้วยดาวเทียม จีพีเอส โดยวิธีย้อนกลับแบบจลน์ในทันที ในการตรวจจับการเคลื่อนตัวทางดิ่งของสะพานพระราม 8
Other Titles: Performance assessment of the inversed real-time kinematic GPS technique for detecting vertical movements of the Rama 8 Bridge
Authors: ก้องไกล สรโยธิน
Advisors: เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chalermchon.S@Chula.ac.th
Subjects: การรังวัด
ดาวเทียมในการรังวัด
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
สะพานพระราม 8
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การติดตามเฝ้าระวังที่น่าเชื่อถือของข้อมูลแบบ ทันทีทันใด ที่ใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนตัวการโก่งของโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่น เช่น สะพานช่วงยาว เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากสำหรับวิศวกรโยธา หลายปีที่ผ่านมา การตรวจสอบพฤติกรรมการเคลื่อนตัวของโครงสร้างต้องใช้เครื่องวัดความเร่งและ เครื่องวัดความเร็ว ในการเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมการเคลื่อนตัว ซึ่งเครื่องรับสัญญาณจีพีเอสในปัจจุบัน มีความสามารถในการให้ค่าพิกัดผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องอยู่ในระดับเซนติเมตร และมีความถี่ในการบันทึกข้อมูล 10 เฮิรตซ์ หรือถี่กว่านั้น การศึกษาที่ผ่านมาได้มีการนำวิธีรังวัดด้วยดาวเทียมจีพีเอสแบบจลน์ในทันที (RTK) มาใช้ในการเฝ้าระวังโครงสร้างมากมาย เมื่อไม่นานมานี้ได้มีนักวิจัยนำเสนอวิธีการหนึ่ง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของวิธีรังวัดด้วยดาวเทียมจีพีเอสแบบจลน์ในทันที ในลักษณะย้อนกลับ กล่าวคือ จุดสถานีฐานจะมีการเคลื่อนที่และจุดสถานีจรจะอยู่อับที่ เพื่อใช้ในการติดตามเฝ้าระวังตรวจจับในสิ่งที่สนใจในทันทีทันใด งานวิจัยนี้ต้องการที่จะประเมินความสามารถของวิธีรังวัดแบบจลน์ในทันที และวิธีรังวัดแบบจลน์ในทันทีลักษณะย้อนกลับ (Inversed RTK) เพื่อใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนตัวทางดิ่งของสะพานพระราม 8 ซึ่งในการทดลองครั้งนี้ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า วิธีรังวัดแบบจลน์ในทันทีให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องใกล้เคียงความเป็นจริง มากกว่าวิธีรังวัดแบบจลน์ในทันทีลักษณะย้อนกลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแบบจำลองเกิดการเคลื่อนตัวทางดิ่ง นอกจากนี้ยังพบว่า วิธีรังวัดแบบจลน์ในทันทีลักษณะย้อนกลับนั้นให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เมื่อโครงสร้างมีการเคลื่อนที่อย่างฉับพลัน ด้วยเหตุนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีรังวัดแบบจลน์ในทันทีลักษณะย้อนกลับ ควรนำข้อมูลดิบมาประมวลผลภายหลังเสียก่อน ดังนั้นวิธีรังวัดแบบจลน์ในทันทีลักษณะย้อนกลับ จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนตัวของสะพานพระราม 8
Other Abstract: Real-time reliable monitoring of the dynamic and deflection behavior of flexible structures such as long span bridges is of great interest for civil engineer. For many years, monitoring the dynamic behavior of engineering structures has relied on measurements made by accelerometer and anemometer. GPS receivers with a capability of resolving motion at the centimeter level with sampling rates of 10 Hz and higher are now available. Previous studies demonstrated the feasibility of deploying Real-Time Kinematic (RTK) GPS method for the dynamic monitoring of structures. Recently, researcher has suggested a novel method based on the use of Real-Time Kinematic GPS technique in inversed mode : with mobile 'base station' and fixed 'rover' to monitor the movement of an interested entity in instantaneous mode. This research aims to assess the performance of Real-Time Kinematic and Inversed Real-Time Kinematic GPS techniques for detecting vertical movement of the Rama 8 Bridge. Several tests conducted in this study confirmed that the RTK method produced more realistic results than the inversed RTK method especially when the bridge model was non-stationary. It was also noticed that the inversed RTK method gave unacceptable results when the bridge model was sharply moving. Furhermore, it was found that the inversed RTK results could be improved by post-processing the raw data. Therefore, the inversed RTK method is not recommended to be used for detecting the vertical movement of the Rama 8 Bridge.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12323
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kongkai.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.