Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12435
Title: ขนบวรรณศิลป์กับประพันธศาสตร์ไทยสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
Other Titles: Literary convention and modern Thai poetics in the poetry of Angkhan Kalayanaphong and Naowarat Phongphaiboon
Authors: วรรณภา ชำนาญกิจ
Advisors: สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Suchitra.C@Chula.ac.th
Subjects: ศิลปะการประพันธ์
กวีนิพนธ์ไทย
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ -- การวิจารณ์และการตีความ
อังคาร กัลยาณพงศ์ -- การวิจารณ์และการตีความ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนบวรรณศิลป์กับประพันธศาสตร์ใน กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เพื่อให้เห็นคุณค่าของกวีนิพนธ์ของกวีทั้งสองในฐานะที่สืบทอดความเป็นตำรา ประพันธศาสตร์ดุจเดียวกับที่วรรณคดีชั้นครูโบราณได้กระทำมาแล้วในจารีตนิยม ของไทย ผลการวิจัยพบว่า อังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์รังสรรค์งานกวีนิพนธ์สืบทอดแนวคิดเรื่องความงามและคุณค่า ของกวีนิพนธ์ในขนบวรรณศิลป์ของไทย และได้ถ่ายทอดแนวคิดเรื่องปรัชญาแห่งวรรณคดีคือความสมบูรณ์ของวรรณศิลป์และ ความงามแห่งจิตวิญญาณ เป็นรูปธรรมในรูปแบบบทกวีนิพนธ์ว่าด้วยธรรมชาติและหน้าที่ของกวีนิพนธ์ การสืบทอดและการสร้างสรรค์ขนบวรรณศิลป์ที่สั่งสมเป็นองค์ความรู้ประพันธ ศาสตร์ในวรรณคดีแบบฉบับอันปรากฎในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่สะท้อนให้เห็นแนวคิด ในการสร้างมาตรฐานวรรณศิลป์ของกวีนิพนธ์ ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา และกลวิธีทางวรรณศิลป์ และคุณค่าแห่งจิตวิญญาณ การนำเสนอเนื้อหาที่เน้นความคิดเข้มข้นลึกซึ้งนับเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่ง ของกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่การสื่อแนวคิดพุทธธรรมเป็นขนบด้านเนื้อหา แสดงให้เห็นการเน้นคุณค่าของกวีนิพนธ์ในการสื่อความงามแห่งจิตวิญญาณ เนื้อหาที่ชี้นำและปลุกเร้าความคิดของผู้อ่านให้ขบคิดและตีความในเชิงคำสอน เกี่ยวกับปรัชญาชีวิตย่อมกระตุ้นการรับรู้ผ่านผัสสะและการพินิจสาร กระบวนการสร้างและการอ่านกวีนิพนธ์จึงเป็นกระบวนการขัดเกลาจิตใจทั้งของผู้ สร้างและผู้อ่านให้วิจิตรประณีต ความงดงามในด้านรูปแบบและเนื้อหาที่ประสานกลมกลืนกันของบทกวีนิพนธ์ที่กวี ได้รังสรรค์ขึ้นอย่างประณีตนับเป็นแนวคิดประพันธศาสตร์ที่สืบทอดมายาวนานใน ขนบวรรณศิลป์ไทย การสืบทอดและการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์โดยมีพื้นฐานความรู้ประพันธศาสตร์จากการ ศึกษาวรรณคดีโบราณในฐานะเป็นวรรณคดีชั้นครู ทำให้อังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์สามารถรังสรรค์กวีนิพนธ์ให้มีคุณค่าเทียบเคียงได้กับวรรณคดีแบบ ฉบับอาจนับเป็นต้นแบบของกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่และมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ งานของกวีในรุ่นหลัง กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ จึงมีคุณค่าในฐานะเป็นตำราประพันธศาสตร์ คุณค่าของกวีนิพนธ์และวรรณคดีนี้ปรากฏเป็นแนวคิดสำคัญที่สืบทอดมายาวนานใน ปรัชญาวรรณศิลป์
Other Abstract: This theiss aims at studying the relation between literary convention and poetics in the poetry of Angkhan Kalayanaphong and Naowarat Phongphaiboon in order to reveal the value of their works as texts on poetics. The study shows that Angkhan Kalayanaphong and Naowarat Phongphaiboon maintain the concept of beauty and poetic value of poetry from Thai literary convention as well as concretely express the philosophical aspects of literature which are literary perfection and spiritual beauty in their poetry about nature and the function of poetry. The continuity and creation of literary convention in their poetry reflect the concept of aesthetic value in form, content and literary techniques and spiritual value of poetry. The outstanding characteristic of modern Thai poetry found in Angkhan Kalayanaphong and Naowarat Phongphaiboon's works is the profound expression of content and message. The convention regarding the content reflects the influence of Buddhist ideas. This emphasizes the spiritual value of poetry in beautiful expression. In reading poetry, the readers are encouraged to consider and interpret the content didactically in order to understand the philosophy of life. The process of poetry creating and reading, therefore, enriches the mind of the author and the reader. The beauty of harmonious form and content exquisitely created is the concept of poetics inheritd in Thai literary convention. The knowledge of poetics from the classical literature not only inspires Angkhan Kalayanaphong and Naowarat Phongphaiboon to create their poetry but also makes their works masterpieces of modern Thai poetry which influence contemporary poets' works. As a result, the poetry of Angkhan Kalayanaphong and Naowarat Phongphaiboon are valued as texts on poetics. This value of poetry is an important concept long inherited in Thai literary philosophy.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12435
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannapa.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.