Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12990
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.authorจรัญ ศรีบัวนำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2010-06-25T08:20:07Z-
dc.date.available2010-06-25T08:20:07Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12990-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณธรรมและระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร และ3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณธรรมที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร จำนวน 800 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามคุณธรรม 8 ด้าน ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ ความขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย ความอดทน ความกตัญญูกตเวที ความประหยัด และความเสียสละ มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.7926 ถึง 0.8824 และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร 6 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนตัวของนักเรียน สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน การปฏิบัติทางศาสนา สิ่งแวดล้อมภายในชุมชน และการรับรู้สื่อ มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.8466 ถึง 0.9411 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยโปรแกรม SPSS for Window และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครมีระดับคุณธรรมอยู่ในระดับมากทุกด้านและมีระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับการยึดอุดมคติสากล (ระดับที่ 6) ทุกด้าน ยกเว้นความมีระเบียบวินัยมีระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับการทำหน้าที่ทางสังคม (ระดับที่ 4) 2) โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนตัวของนักเรียน สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน การปฏิบัติทางศาสนา สิ่งแวดล้อมภายในชุมชน และการรับรู้สื่อ 3) โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์ = 188.07, df = 189, p = 0.50550, RMSEA = 0.000, RMR = 0.024, GFI = 0.983, AGFI = 0.966) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของระดับคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 51en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the virtue level and a moral reasoning level of lower secondary school students in Bangkok metropolis, 2) to develop a causal model of factors effecting virtue of lower secondary school students in Bangkok metropolis, and 3) to validate a model with empirical data. The participants of this research were 800 students of lower secondary school in Bangkok metropolis. The research instruments were a virtue 8 aspects included, honesty, responsibility, sedulity, discipline, endurance, gratefulness, saving and sacrifice, which had the reliability coefficients 0.7926 to 0.8824 and a questionnaire of factors effecting virtue of lower secondary school students were 6 aspects included, student’s characteristic, environment in family, environment in school, religious activity and media perception, which had the reliability coefficients 0.8466 to 0.9411. The research data were analyzed by employing SPSS for Window for descriptive statistics, Pearson’s Product Moment correlation coefficient, and linear structural equation model (LISREL) analysis. The research findings were as follows: 1) Students of lower secondary school in Bangkok metropolis had high virtue level in all aspects and a moral reasoning was in level of the universal ethical principle orientation (level 6) in all aspects except the discipline that had the level of moral reasoning in the law and order orientation (level 4). 2) A causal model of factors effecting virtue of lower secondary school students in Bangkok metropolis were 6 aspects included, student’s characteristic, environment in family, environment in school, religious activity and media perception. 3) A causal model of factors effecting virtue of lower secondary school students in Bangkok metropolis was fitted to the empirical data ([chi-square] = 188.07, df = 189, p = 0.50550, RMSEA = 0.000, RMR = 0.024, GFI = 0.983, AGFI = 0.966 ). The variables in the model accounted for 51% of virtue level of lower secondary school students in Bangkok metropolis.en
dc.format.extent2028595 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.953-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectลิสเรลโมเดลen
dc.subjectการพัฒนาจริยธรรมen
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeDevelopment of a causal model of factors effecting virtue of lower secondary school students in Bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAuyporn.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.953-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jaran.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.