Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13044
Title: ทัศนคติของวัยรุ่นต่อการเลือกคู่ครอง : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
Other Titles: Attitude of adolescence towards mate selection : a case study of vocational students in Bangkok
Authors: อรุณลักษณ์ เนตรศิริ
Advisors: วิพรรณ ประจวบเหมาะ
ศิริวรรณ ศิริบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Vipan.P@chula.ac.th
Siriwan.Si@chula.ac.th
Subjects: การเลือกคู่ครอง
วัยรุ่น
สังคมประกิต
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของวัยรุ่นต่อการเลือกคู่ครองแบบอุดมคติ กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนอาชีวศึกษาทั้ง 6 สถาบันในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,000 คน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของวัยรุ่นต่อการเลือกคู่ครองแบบอุดมคติกับตัวแปรอิสระทั้ง 18 ตัว โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย การวิเคราะห์การถดถอยพหุ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนอาชีวศึกษามีคะแนนทัศนคติในการเลือกคู่ครองแบบ อุดมคติเฉลี่ยเท่ากับ 20.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุของทัศนคติในการเลือกคู่ครองแบบอุดมคติกับตัวแปรอิสระทั้ง 18 ตัว สามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันของทัศนคติในการเลือกคู่ครองแบบอุดมคติได้ร้อยละ 9.6 (R[superscript 2] = .096) และเมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอิสระตัวอื่นๆแล้ว มีตัวแปรอิสระเพียง 7 ตัว ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติในการเลือกคู่ครองแบบอุดมคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <= 0.05 ได้แก่ แผนกวิชาที่เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถานภาพสมรสของบิดามารดา รายได้ต่อเดือนของนักเรียน การให้คุณค่าของพรหมจรรย์ การเลือกคู่ครองด้วยตนเอง ความเชื่อมั่นในตัวเอง ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุขั้นตอนพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการเลือกคู่ครองแบบอุดมคติกับปัจจัยทางประชากรและด้านการเรียน ปัจจัยด้านครอบครัวและผู้ปกครอง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางจิตวิทยาและวัฒนธรรม ที่ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระรวมทั้งสิ้น 18 ตัวแปรนั้นพบว่า สัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ (R[superscript 2]) ของความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการเลือกคู่ครองแบบอุดมคติ คิดเป็นเพียง 8.2%
Other Abstract: To study the factors affecting attitude of adolescence ideal toward ideal mate selection of vocational students in Bangkok. The sample consisted of 1,000 students from 6 vocational schools and was selected by multi-stage sampling. Data were collected by self-administered questionnaires. Simple regression analysis and multiple regression analysis with stepwise method were used for data analysis. This research found that the average point of attitude of adolescence toward ideal mate selection among the students is 20.14 from total 25. The result of Multiple Regression Analysis shows that a group of 18 independent variables can explain the variables of attitude of adolescence toward ideal mate selection about 9.6%. After controlling all independent variables, only 7 factors namely; attitude on GPA, department, parent’s marital status, student incomes, virgin, self-mate selection, self confident. The results from multiple regression revealed very low value of coefficient of Determination (R[superscript 2]) of 8.2%. The result stated that the 6 factors namely demographic factor, family factor, economic factor, social factor, psychological and cultural factors have very small impact on the variation attitude of adolescence toward ideal mate selection.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13044
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1011
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1011
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunluk_na.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.