Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13513
Title: การศึกษาฮีตสิบสองในฐานะเครื่องมือเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นทางสังคมของชุมชนอีสาน
Other Titles: A study of twelve-months tradition as a tool to enhance social solidarity in Isan community
Authors: ฌาณิญา จินดามล
Advisors: พินิจ ลาภธนานนท์
นฤมล อรุโณทัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pinit.L@Chula.ac.th, plapthananon@hotmail.com
hnarumon@chula.ac.th
Subjects: ทุนทางสังคม -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ความเป็นปึกแผ่นทางสังคม -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
ชุมชนบ้านขี้เหล็ก (ร้อยเอ็ด)
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประเพณีฮีตสิบสองของชุมชนหมู่บ้านในชนบทอีสาน เพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของประเพณีฮีตสิบสอง ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำหน้าที่ของทุนทางสังคม ที่ช่วยในการเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นทางสังคมของหมู่บ้านชนบทอีสาน ที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ชุมชนที่ศึกษาครั้งนี้คือชุมชนบ้านขี้เหล็ก ต.หนองแวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านขี้เหล็กใช้ประเพณีฮีตสิบสองเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด ความคิด ความเชื่อ ค่านิยมด้านต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่กับพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องผี ระบบความสัมพันธ์เชิงครอบครัวและ เครือญาติ และวิถีผลิตทางการเกษตรให้กับชาวบ้าน โดยเน้นให้เกิดวิถีปฏิบัติที่ยังประโยชน์ต่อการธำรงระบบความสัมพันธ์ทางสังคมเชิงครอบครัวและเครือญาติ สร้างความรู้สึกเป็นญาติเป็นพี่เป็นน้องกับชาวบ้านร่วมชุมชน ส่งผลให้วิถีปฏิบัติต่อกันมีลักษณะของการช่วยเหลือ เกื้อกูลและแบ่งปันซึ่งกันและกัน ทำให้ชาวบ้านมีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมดังกล่าวนับเป็นทุนทางสังคมของชุมชน ที่มีส่วนสำคัญในการยึดโยงชาวบ้านเข้าไว้ด้วยกัน สร้างความสมานสามัคคีให้เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ และมีความเป็นปึกแผ่นทางสังคม “อยู่ชุ่มกินเย็น” มาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันชุมชนบ้านขี้เหล็กก็ยังพยายามนำเอาประเพณีฮีตสิบสองมาใช้เป็นเครื่องมือในการผสานและผูกพันผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติแตกต่างไปจากอดีตบ้าง แต่ยังสามารถรักษาบทบาทหน้าที่ทางสังคมไว้ได้ ไม่เพียงเฉพาะการผสานชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันและหมู่บ้านใกล้เคียงเหมือนในอดีตเท่านั้น หากแต่ยังใช้ผสานญาติพี่น้องที่อพยพไปอยู่ท้องถิ่นห่างไกลให้มีความผูกพันกัน แต่การที่ประเพณีฮีตสิบสองไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เพราะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ทำให้วิถีชีวิตของชุมชนเปลี่ยนไป ผู้คนมีความห่างเหินกันมากขึ้น และทำให้ประเพณีฮีตสิบสองมีบทบาทน้อยลงในการทำหน้าที่กำหนด หรือควบคุมพฤติกรรมของชาวบ้านให้ประพฤติปฏิบัติต่อกันอย่างมีศีลธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบเบียดเบียน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และแบ่งปันให้แก่กัน การที่ประเพณีฮีตสิบสองยังสามารถทำหน้าที่สำคัญให้กับชุมชนได้เป็นเพราะ 1) ชาวบ้านยังให้ความสำคัญต่อการรักษาสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ และเพื่อนบ้าน ไม่ให้ห่างเหินกันมาก 2) คนเฒ่าคนแก่และพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำทางการประกอบประเพณีของชุมชน ให้ความสำคัญต่อการถ่ายทอดวิถีปฏิบัติตามประเพณีฮีตสิบสองให้กับบุตรหลาน 3) บ้าน วัด โรงเรียน และองค์การบริหารส่วนตำบลมีการประสานความร่วมมือและช่วยเหลือกัน 4) วิถีการประกอบอาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นวิถีการทำเกษตรที่ญาติพี่น้องต้องมาร่วมมือช่วยเหลือกัน
Other Abstract: To study twelve-months tradition (Heet Sib Song) as practical Isan traditions to provide social capital to enhance social solidarity in Isan rural community. The research was conducted by using qualitative research methods: participant observation and in-depth interviews, in Ban Kee Lek, Tambon Nong Wang, Muang District, Roi-Et Province. The research found that villagers in Ban Kee Lek have used twelve-months tradition as a tool to transfer their local traditional thoughts, beliefs, and social values in response to practices of Buddhism and animism, ties of kinship, and customs of local agriculture. Twelve-months tradition have not only kept local people’s close relationship but also their social supporting system among themselves and with neighboring villages. These social and cultural practices have long been accepted as Isan social capital tying local people to live together in harmony, self-reliance, and social solidarity. This pattern of Isan ways of living is locally recognized as ‘Yuu Chum Kin Yen’, literally means ‘to live peacefully and to eat bountifully’. At present, the Ban Kee Lek villagers still practice twelve-months tradition in order to amalgamate with not only their neighboring villages but also their relatives who live far away from the community. However the research found that the traditions cannot provide their effective social functions and social capital as much as they did in the past. This is mainly because dynamic economic, social, and cultural changes have turned the villagers’ lifestyle to become more estranged and have undermined their social solidarity. Twelve-months tradition still has important social functions in the community because 1) villagers place a high value on the maintenance of good relationships among family members, relatives, and neighbors; 2) seniors and monks who are traditional leaders see the importance of passing down twelve-months tradition to their young generations; 3) there are cooperation and assistance among households, temples, schools, and the sub-district administrative organization committees; and 4) the agricultural work and lifestyle encourages cooperation and labor exchange which brings villagers together to help one another.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13513
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1186
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1186
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaniya_Ji.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.