Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14308
Title: วงปี่พาทย์เมือง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The Pipat Muang ensemble of Chiengmai
Authors: วัชระ แตงเทศ
Advisors: ขำคม พรประสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kumkom.P@Chula.ac.th
Subjects: วงปี่พาทย์ -- ไทย -- เชียงใหม่
ปี่พาทย์
ดนตรีไทย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินการวิจัยเรื่อง วงปี่พาทย์เมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยตั้งวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ ศึกษาประวัติความเป็นมาของวงป้าดเมือง ศึกษารูปแบบการบรรเลง วงป้าดเมืองในพิธีกรรมต่างๆ และระเบียบวิธีการบรรเลง ผลการวิจัยพบว่า ประวัติของวงปี่พาทย์เมืองเป็นการร่วมวงของชนชาติมอญ ชนชาติพม่า และชนชาติไทย ซึ่งดูจากเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงป้าดเมืองจะมีเครื่องดนตรีที่เหมือนกับเครื่องดนตรีของทั้ง 3 ชนชาติ วัตถุประสงค์ข้อ 2 พบว่ารูปแบบการจัดวงของวงป้าดเมืองผลการวิจัยพบว่า จะมีรูปแบบการจัดวงแบบเครื่องห้าของวงปี่พาทย์ภาคกลาง จะมีรูปแบบที่แตกต่างไปอยู่ที่การวางกลองเต่งทิง ซึ่งจะวางตามลักษณะของงาน โดยงานศพ งานปอยหลวงจะตั้งกลองเต่งทิงไว้หลังระนาดทุ้ม ส่วนงานฟ้อนผีจะตั้งกลองเต่งทิ้งข้างระนาดทุ้ม การจับไม้และท่านั่งบรรเลงของวงปี่พาทย์เมือง ผลการวิจัยพบว่า ไม่มีแบบแผนในการจับไม้บรรเลงอย่างมีแบบแผน การนำวงป้าดเมืองไปกับบรรเลงานประเภทต่างๆ จะมีระเบียบที่คล้ายกันจะแตกต่างกันที่การวางเพลงในการบรรเลงในแต่ละงาน แต่เพลงแรกที่บรรเลงจะบรรเลงเพลงปราสาทไหวเหมือนกันทุกวงซึ่ง ถือว่าเป็นเพลงโหมโรงของวงปี่พาทย์เมืองเหนือ ระเบียบวิธีการบรรเลงวงป้าดเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ทำนองเพลงของวงปี่พาทย์เมืองมีการตีหน้าทับที่ซับซ้อนประโยค สำนวนหลากหลายไม่เหมือนกันแม้แต่ในวงเดียวกันก็บรรเลงไม่เหมือนกัน ซึ่งอยู่ที่ผู้บรรเลงจะใส่ลูกเล่นแบบใด ส่วนทำนองเพลงของวงปี่พาทย์เมืองมีทำนองที่หลากหลายมีทั้งทำนองแบบจาวๆ และทำนองถี่ ซึ่งไม่มีรูปแบบของการบรรเลงอย่างเป็นมาตรฐาน แต่เป็นลักษณะสำเนียงของดนตรีทางเหนือคือ มีการบรรเลงทางฆ้องวงใหญ่หลายรูปแบบเช่นการเสี้ยวมือ การบรรเลงสลับมือโดยยืนเสียงเดียวเป็นหลัก และในการบรรเลงแต่ละเพลงจะบรรเลงหลายเที่ยวติดต่อกันใช้เวลาบรรเลงนานประมาณ 10-20 นาที ต่อการบรรเลง 1 ครั้ง จะพัก 5-10 นาที ซึ่งสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
Other Abstract: In conducting a research on the Pipat Mueang Ensemble of Chiang Mai, the researcher has set three main objectives; namely, studying the history of the Pipat Mueang Ensemble or the Pad Mueang, studying its performance during different rituals and studying its performance methodology. The research has found that, in terms of history, the Pipat Mueang is a musical ensemble, which is a combination of the Mon, Burmese and Thai musical groups. The musical instruments in the Pipat Mueang are similar to those of the three nations. For the second objective, it is found that the pattern in organizing the Pipat Mueang Ensemble shares the same pattern as the organization of the Pipat Ensemble of five musical instruments of the Central Region. The difference is in the placement of the Teng Ting drum. At a funeral ceremony or at the Poi Luang ritual, the Teng Ting drum will be placed behind the traditional alto xylophone while during the Ghost dance, the drum will be placed on the side of the traditional alto xylophone. The research has found that there is no specific pattern in how the instruments are played and what the seating position of the musicians in the Pipat Mueang is. The Pipat Mueang Ensemble which is played during different ceremonies will have similar pattern; the difference is in the series of the songs played in each ceremony. However, the first song played by all ensembles must be the Prasat Wai, which is considered an overture for the northern musical ensemble. The research has found that the performing methodology of the Pipat Mueang of Chiangmai the melodies of the Pipat Mueang Ensemble consist of beats of complex statements. There are varieties of expressions; even in the same ensemble the performance will vary, depending on what tricks or technique the musicians will use. The melodies in the Pipat Mueang Ensemble also vary. There are both slow and fast tempos. There is no standard pattern but the melodies will be those of northern music, which is suggested by the performance of the large gong circle in different patterns, for example, the of the hands or alternating hands by relying on one single major sound. Each song may be repeated several times and each performance may last for 10 to 20 minutes and there is a 5 to 10 minute interval and this practice has continued to the present day.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14308
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1954
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1954
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watchara_Ta.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.