Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14475
Title: ผลของการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบร่วมกับยาทาทาโครลิมัสและการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบี ชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบอย่างเดียวในการรักษาผู้ป่วยโรคด่างขาว
Other Titles: Targeted narrowband UVB phototherapy plus topical tarcrolimus and targeted narrowband UVB monotherapy for the treatment of Vitiligo
Authors: ศิริอร กล้าหาญ
Advisors: ประวิตร อัศวานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: pravit@adsl.loxinfo.com, fibrosis@gmail.com
Subjects: โรคด่างขาว -- การรักษาด้วยรังสี
โรคด่างขาว -- การรักษาด้วยยา
ผิวหนัง -- โรค
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของการวิจัย: การรักษาโรคด่างขาวมีหลายวิธี การรักษาด้วยการใช้รังสีอัตราไวโอเลตบีชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบชนิดฉายเฉพาะที่เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้ผลการรักษาดี ในปัจจุบันได้มีการศึกษาเปรียบเทียบการใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ร่วมกับการทายาทาโครลิมัส พบว่าให้ผลดีกว่าการรักษาด้วยวิธีเอ็กไซเมอร์เลเซอร์เพียงอย่างเดียว วัตถุประสงค์ในการวิจัย: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบร่วมกับทาโครลิมัสและการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบอย่างเดียวในการรักษาผู้ป่วยโรคด่าวขาว วิธีการทำวิจัย: การวิจัยนี้ศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคด่างขาวชนิดเฉพาะที่หรือชนิดที่เป็นทั่วตัว 15 ราย โดยผู้ป่วยแต่ละคนจะถูกเลือกรอยโรค 2 ตำแหน่งที่คล้ายคลึงกันและอยู่บริเวณเดียวกันในการรักษา แล้วสุ่มเลือกรอยโรคว่าตำแหน่งใดจะรักษาด้วยวิธีใด โดยตำแหน่งหนึ่งจะได้รับการรักษาด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบร่วมกับการทายาทาโครลิมัส อีกตำแหน่งหนึ่งจะได้รับการรักษาด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบอย่างเดียว ทำการฉายแสงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการถ่ายรูปรอยโรคก่อนทำการศึกษาและทุก 4 สัปดาห์จนครบ 12 สัปดาห์ แล้วทำการประเมินผลโดยการเปรียบเทียบร้อยละของการเกิดเม็ดสีผิวโดยแพทย์ผิวหนัง หลังจากนั้นจึงนำมาประมวลผลทางสถิติโดยใช้วิธี Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัย: การเกิดเม็ดสีผิวในผู้ป่วยแต่ละรายมีลักษณะแตกต่างกัน พบว่าผู้ป่วย 15 รายตอบสนองต่อการรักษาด้วยการรักษาทั้ง 2 วิธีไปในทางเดียวกัน เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test พบว่าการรักษาโดยการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวคลื่นแคบร่วมกับการทายาทาโครลิมัสได้ให้ผลการรักษาดีกว่า การใช้รังสีอัตราไวโอเลตบีชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบอย่างเดียว แต่ความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่สัปดาห์ที่ 4 (p=0.500) สัปดาห์ที่ 8 (p=0.078) และสัปดาห์ที่ 12 (p=0.103) สรุปผลการวิจัย: การใช้แสงอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบแบบร่วมกับการทายาทาโครลิมัส ไม่ได้ให้ผลดีกว่าการฉายแสงอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวช่วงคลื่นแคบอย่างเดียว ในการรักษาผู้ป่วยโรคด่างขาว
Other Abstract: Background: 308 nm Excimer laser and targeted narrowband UVB phototherapy have recently been shown to be effective in the repigmentation of patient with vitiligo. Previous studies have suggested that the combination of 308 nm excimer aser and tacrolimus is more effective than 308 nm excimer laser monotherapy in the treatment of vitiligo. Objective: To compare the efficacy of targeted narrowband UVB phototherapy plus topical tacrolimus with that of targeted narrowband UVB monotherapy for induction of repigmentation in vitiligo. Method: Fifteen patients with focal or generalized vitiligo from the dermatology clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital were enrolled in this study. Two similar lesions were selected in each patient. One was treated with targeted narrowband UVB plus topical tacrolimus and the other treated with targeted narrowband UVB monotherapy. The treatments were done twice a week for 12 weeks. Degree of repigmentation documented by biweekly digital photography was assessed by blinded dermatologist. Results: All patients responded to both treatments in similar pattern. However, each patient had variable response to treatments. Repigmentation during treatment between two groups was not statistically significantly different at 4[superscript th] week (p=0.500) 8[superscript th] week (p=0.078) and 12[superscriptth] week (p=0.103) by Wilcoxon signed-rank test. Conclusion : We concluded that targeted narrowband UVB phototherapy plus topical tacrolimus was not more effective than targeted narrowband UVB monotherapy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14475
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.555
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.555
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siri-on_kl.pdf70.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.