Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14732
Title: ความรับผิดทางอาญาของผู้คุกคามผู้อื่นโดยใช้อินเตอร์เน็ต
Other Titles: Criminal liability for cyberstalker
Authors: ชญาณ์พิมพ์ บัวดิษฐ์เดชา
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Apirat.P@Chula.ac.th
Subjects: การคุกคามทางอินเตอร์เน็ต
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
สแปม (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การคุกคามเฝ้าติดตามผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คือ การกระทำใดๆ อันมีลักษณะการคุกคาม ข่มขู่ รบกวนผู้อื่นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นการกระทำที่แทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น อันก่อให้เกิดความรู้สึกเดือดร้อนรำคาญ วิตกกังวล หวาดกลัว หวาดระแวงในความปลอดภัย และส่งผลกระทบต่อจิตใจ สภาพร่างกายและการดำรงชีวิตอันปกติสุขของผู้ถูกกระทำและบุคคลอันใกล้ชิดของผู้ถูกกระทำ การกระทำการคุกคามเฝ้าติดตามผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการกระทำการคุกคามเฝ้าติดตามต่อผู้หนึ่งผู้ใดเฉพาะเจาะจง โดยมูลเหตุในการกระทำอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางการกระทำอาจไม่มีลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่เหยื่อ แต่หากเป็นการกระทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องสามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกทางลบแก่ผู้ถูกกระทำได้ และอาจนำไปสู่ภยันตรายหรืออาชญากรรมร้ายแรงอื่นๆ ตามมาได้ ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการคุกคามเฝ้าติดตามผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หากเกิดการกระทำดังกล่าวขึ้นจึงจำเป็นต้องนำบทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบพฤติกรรมการคุกคามดังกล่าวมาบังคับใช้ จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่มีอยู่นั้นไม่มีความครอบคลุมเหมาะสมเพียงพอที่จะนำมาบังคับใช้กับการคุกคามได้ทุกลักษณะที่เกิดขึ้น จึงได้เสนอแนวทางในการบัญญัติกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำ โดยศึกษาจากกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายในต่างประเทศ เช่น การบัญญัติเป็นฐานความผิดทางอาญาเฉพาะ การเพิ่มเติมมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะกับพฤติการณ์ของผู้กระทำ กำหนดสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อจิตใจจากการกระทำดังกล่าว เพื่อนำมาบังคับใช้กับการกระทำการคุกคามเฝ้าติดตามผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: Cyber stalking is a behavior involving acts of repeated harassing, threatening or annoying of another person in course of conduct. It interferes a person's privacy in a manner that causes annoyance, anxiousness, afraid of or fear for his or her safety or the safety of his or her immediate family. It can be performed via e-mail against the specific victim. This crime may be committed from many reasons so some forms of acts do not seem to be harmful to victim. However the repeated or persistent of a series of acts over a period of time will cause annoyance, fear or mental distress to the victim and it can cause other severe damages in the future. In Thailand, there is no particular law against cyber stalking. Only some parts of the current Computer Crime Act B.E. 2550, Criminal Code and Civil Code relating to such action may be considered applicable when cyber stalking takes place. The study shows that the existing laws do not cover all actions pertaining to cyber stalking. Accordingly, the state required to enact laws and initiate proper measures to protect the victim of cyber stalker. In this regard, cyber stalking should be included as an offence in the Computer Crime Act B.E. 2550. Appropriate measure should also be introduced as well as civil liability for tort claim by victim should be classified. These reform process will deter the would be cyber stalker from committing unlawful act.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14732
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.392
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.392
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayaphim_bu.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.