Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15171
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขเชิงอัตวิสัยในเกษตรกร
Other Titles: Relationship Between Living with Sufficiency Economy Philosophy and Subjective Well-Being in Farmers
Authors: ชนัดดา ภูหงษ์ทอง
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Subjects: เศรษฐกิจพอเพียง
เกษตรกร -- การดำเนินชีวิต
ความสุข
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขเชิงอัตวิสัยในกลุ่มอาชีพเกษตรกร และศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในชุมชนตัวอย่างในด้านเศรษฐกิจพอเพียงกับเกษตรกรทั่วไป กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งเป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในชุมชนตัวอย่างในด้านเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 200 คน และเกษตรกรทั่วไปจำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัย 2. ในกลุ่มเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในชุมชนตัวอย่างในด้านเศรษฐกิจพอเพียงมีคะแนนความสุขเชิงอัตวิสัยสูงกว่าในกลุ่มเกษตรกรทั่วไป 3. ในกลุ่มเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในชุมชนต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเกษตรกรทั่วไป และในกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด การดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขนาดที่ดินในการทำการเกษตร รายได้ของครัวเรือน และจำนวนสมาชิกในครอบครัวสามารถร่วมกันทำนายความสุขเชิงอัตวิสัยได้ โดยการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำนายความสุขเชิงอัตวิสัยได้สูงสุด
Other Abstract: The purposes of this thesis were to study the relationship between living with sufficiency economy philosophy and subjective well-being in farmers, and to compare the differences of living with sufficiency economy philosophy and subjective well-being of farmers of sufficiency economy philosophy village and general farmers. Participants were 200 farmers who live in sufficiency economy philosophy village and 200 general farmers. The results are as follows: 1. Living with sufficiency economy philosophy correlates positively with subjective well-being. 2. Farmer group living in sufficiency economy philosophy village has a significantly higher mean score on subjective well-being than general farmers. 3. For farmers living in sufficiency economy philosophy village, general farmers, and all farmers, living with sufficiency economy philosophy, the amount of land in agriculture, agricultural income, and the number of family members, together can predict subjective well-being, with living with sufficiency economy having the highest regression coefficient.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) - - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15171
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanadda_po.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.