Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16330
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นแนวชายรักชาย (YAOI) และวิถีทางเพศของวัยรุ่นไทย
Other Titles: The relationship between Japanese manga of men with men (YAOI)
Authors: ชยภัทร จินดาเลิศ
Advisors: อภิชัย วสุรัตน์
อุษณีย์ พึ่งปาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: avasuratna@yahoo.com
Usaneya.P@Chula.ac.th
Subjects: การ์ตูน
รักร่วมเพศชาย
วัยรุ่น
วิถีทางเพศ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีกลุ่มควบคุมแบบจับคู่ โดยใช้แบบสอบถามให้ตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือ วัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปีที่อ่านและไม่อ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นแนวชายรักชาย โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 125 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 250 คน วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นแนวชายรักชาย และวิถีทางเพศของวัยรุ่น จากผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นที่อ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นแนวชายรักชาย มีทัศนคติวิถีทางเพศที่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่อ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) นอกจากนั้นในเรื่องความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นแนวชายรักชายกับวิถีทางเพศ ก็พบว่าพฤติกรรมการอ่านที่ต่างกันมีวิถีทางเพศทั้งด้านความรู้สึกและด้านทัศนคติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เช่นเดียวกัน
Other Abstract: This study is a matching case-control design by using a self-report questionnaire. The target population was 250 Thai adolescents aged 15 to 25 years old, equally grouped into those who have an experience of reading and non-reading the Japanese Manga of Men with Men (YAOI). It is aimed to identify the relationship of reading YAOI and Thai adolescent sexual orientation. The results showed that adolescents who read YAOI have attitude toward sexual orientation difference from the non-readers with statistical significance (p<.05). According to the reading behavior and the sexual orientation on feeling and attitude, the results have shown the difference in the sexual orientation on both feeling and attitude with the statistical significance (p<.05) between reading and non-reading groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เพศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16330
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.378
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.378
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chayaphat_ji.pdf985.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.