Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16747
Title: การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการทำงานของครูด้วยแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
Other Titles: Development of a work empowerment model for teachers using the neo-humanist concept to develop capacity in learner-centered learning management
Authors: อาภาพร สิงหราช
Advisors: เกียรติวรรณ อมาตยกุล
วรรัตน์ อภินันท์กูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Kiatiwan.A@Chula.ac.th
aeworarat@yahoo.com
Subjects: ครู
การพัฒนาบุคลากร
การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของครูด้วยแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงาน และ (3) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน การดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงาน ขั้นตอนที่ 2 การใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานที่พัฒนาขึ้น และขั้นตอนที่ 3 การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของครูด้วยแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วย (1) การกำหนดหลักการ (2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (3) การกำหนดโครงสร้างเนื้อหา (4) การดำเนินการ ได้แก่ (4.1) การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย (4.2) การสร้างความตระหนักในตนเอง (4.3) การเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ (4.4) การเสริมสร้างให้ได้แสดงออกถึงความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และ (5) การประเมินผล 2. ผลการใช้รูปแบบพบว่า ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และมีความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของครูด้วยแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในระดับมาก 3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของครูด้วยแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ได้พัฒนาขึ้น ได้แก่ (1) กลุ่มผู้เรียน (2) วิทยากร (3) กิจกรรมการเรียนรู้ (4) สื่อการเรียนรู้ และ (5) สภาพแวดล้อม
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to develop the work empowerment model, using the neo- humanist concept, for teachers’ learner-centered learning management abilities; (2) to study the work empowerment model implementation result; and (3) to study the work empowerment model implemental affecting factors. The 60 teachers, 30 were in the experimental group and 30 were in the controlled group, from the lower secondary school under Bangkok Educational Service Area were the research samples. The research procedures consisted of 3 steps, develop the work empowerment model for teachers’ learner-centered learning management using the neo- humanist concept, implement a work empowerment model and study the work empowerment model implemental affecting factors. The research results were as follows: 1. The developed work empowerment model, using the neo-humanist concept, for teachers’ learner-centered learning management abilities were consisted of 5 processes (1) the principle setting, (2) the objective setting, (3) the content structure setting, (4) the process-(4.1) relaxing climate creation; (4.2) self-awareness enhancement; (4.3) enhancement of knowledge, skill and experience; and (4.4) express enhancement of knowledge, skill and experience- and (5) the evaluation. 2. The model implementation result indicated that the teachers’ learner-centered learning management abilities of the experimental teachers group was significantly higher than before experiment at .01 level and significantly higher than the controlled group at .01 level. Furthermore, it reported that the participants’ satisfaction to the developed work empowerment model, using the Neo- humanist concept, for teachers’ learner-centered learning management were very high level. 3. The affecting factors to the implementation of the developed work empowerment model were (1) the participants’ group, (2) the facilitator, (3) the learning activities, (4) learning media, and (5) the learning environment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16747
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1409
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1409
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arpaporn_si.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.