Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17383
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธีระพร อุวรรณโณ | - |
dc.contributor.advisor | พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ | - |
dc.contributor.author | นันทิกา พรหมนาม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-05T14:29:48Z | - |
dc.date.available | 2012-03-05T14:29:48Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.isbn | 9745623806 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17383 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปฏิกิริยาจริยธรรมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของผู้อื่น และเปรียบเทียบปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของผู้อื่นระหว่างกลุ่มนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่จำแนกตามตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร ได้แก่ เพศ สถานภาพ ศาสนา อาชีพหลักของครอบครัว สภาพความเป็นเมือง และภูมิภาค กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูและผู้ปกครองจากกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2,834 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง และมาตรวัดปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของผู้อื่นที่ผู้วิจัยและคณะสร้างขึ้นโดยอาศัยแนวการสร้างจากมาตรจำแนกความหมายของออสกูดและคณะ และมาตรจำแนกพฤติกรรมของทรัยแอนดิส สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การประมาณช่วงค่าความเชื่อมั่นของมัชฌิมเลขคณิต การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง จะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกแน่ๆ และจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบแน่ๆต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของผู้อื่น 3 พฤติกรรม ได้แก่ การบริจาคทรัพย์ การประกอบอาชีพอิสระ และการเสียสละเพื่อสาธารณประโยชน์ 2. นักเรียน ครู และผู้ปกครองอาจจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกและอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของผู้อื่น 7 พฤติกรรม ได้แก่ การกระจายทรัพย์อย่างเท่าเทียมกัน การประกอบอาชีพรับจ้าง การไม่เอาทรัพย์ผู้อื่น การกระจายทรัพย์ตามความจำเป็น การกระจายทรัพย์ตามความสามารถ การให้ผู้อื่นยืมเงิน และการให้ผู้อื่นกู้เงิน 3. นักเรียน ครู และผู้ปกครองไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกต่อการกู้ยืมเงินจากผู้อื่นแต่อาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบด้วย 4. นักเรียน ครู และผู้ปกครองไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกและปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อการประกอบมิจฉาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย 5. นักเรียน ครู และผู้ปกครองอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกและอาจจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อการลักฉ้อทรัพย์ 6. นักเรียน ครู และผู้ปกครองอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกแน่ๆ และอาจจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อการประกอบมิจฉาชีพที่ผิดกฎหมาย การฉวยโอกาสขูดรีด และการละเลยที่จะรักษาสาธารณสมบัติ 7. กลุ่มนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ที่จำแนกตามตัวแปรภูมิภาค สถานภาพ สภาพความเป็นเมือง เพศ อาชีพหลักของครอบครัว และศาสนา มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของผู้อื่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 หรือน้อยกว่า) เป็นจำนวน 13, 10, 9, 7, 6 และ 1 พฤติกรรมตามลำดับ และความแตกต่างนี้เป็นความแตกต่างกันในเชิงปริมาณเท่านั้น ทุกกลุ่มในแต่ละตัวแปรมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกและทางลบไปในทิศทางเดียวกัน | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to survey existing moral reactions of pupils, teachers and parents to economic behaviors of others and to compare moral reactions among different groups according to six independent variables: sex, status, religion, family occupation, urbanity and region. The subjects were 2,834 pupils in Prathomsuksa 6, Mathayom 3, Mathayomsuksa 5, teachers and parents from Bangkok, the Central, Northern, Southern and Northeastern regions. They were selected through a multi-stage sampling method. The research instruments were questionnaires for biographical data and the Moral Reaction Scale which was developed by the researcher and others based on Osgood and others’ Semantic Differential Scale and Triandis’ Behavioral Differential Scale. The data were presented in term of 95% confident intervals of means and were analyzed by using one-way analysis of variance and Scheffe’s method of pair wise comparisons. Results indicated that: 1. Pupils, teachers and parents would show positive moral reactions and would not show negative moral reactions to three behaviors: almsgiving, independent work and self sacrifice for the common good. 2. Pupils, teachers and parents might show positive moral reactions and might not show negative moral reactions to seven behaviors: equal distribution of goods, working as employees, refraining from taking others’ property, distribution of goods according to needs, distribution of goods according to abilities, leading money to others and loaning money to others. 3. Pupils, teachers and parents were not certain to show positive moral reactions and might not show negative moral reactions to borrowing money from others. 4. Pupils, teachers and parents were not certain to show positive moral reactions and were not certain to show negative moral reactions to occupation which, although legal, are prohibited in Buddhist religion. 5. Pupils, teachers and parents might show positive moral reactions and might show negative moral reactions to stealing. 6. Pupils, teachers and parents would not show positive moral reactions and might not show negative moral reactions to three behaviors: illegal occupations, which are also prohibited in Buddhist religion, raising price of goods in the time of shortage and refraining from preservation of the common goods. 7. The different groups of pupils, teachers and parents according to independent variables: region, status, urbanity, sex, family occupation and religion showed significant different moral reactions (at .05 level or beyond) to 13, 10, 9, 7, 6 and 1 behaviors, respectively. These differences were quantitative, however, and every grouping of subjects according to each independent variable showed moral reactions, whether positive or negative, in the same direction. | - |
dc.format.extent | 349548 bytes | - |
dc.format.extent | 1006877 bytes | - |
dc.format.extent | 460654 bytes | - |
dc.format.extent | 724740 bytes | - |
dc.format.extent | 620543 bytes | - |
dc.format.extent | 301805 bytes | - |
dc.format.extent | 458617 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | จริยศาสตร์ | en |
dc.subject | พฤติกรรมมนุษย์ | en |
dc.title | ปฏิกิริยาจริยธรรมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของผู้อื่น | en |
dc.title.alternative | Moral reactions of pupils, teachers and parents to economic behaviors of others | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Theeraporn.U@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Puntip.S@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuntika_Pr_front.pdf | 341.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntika_Pr_ch1.pdf | 983.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntika_Pr_ch2.pdf | 449.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntika_Pr_ch3.pdf | 707.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntika_Pr_ch4.pdf | 606 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntika_Pr_ch5.pdf | 294.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntika_Pr_back.pdf | 447.87 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.