Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17634
Title: งานบุคลากรนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
Other Titles: Student personnel work in universities
Authors: ละออง วรรณโคตร
Advisors: วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: dwallapa@dpu.ac.th
Subjects: การบริหารงานบุคคล
นิสิตนักศึกษา -- การบริหาร
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะและขอบข่ายของงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาที่จัดในมหาวิทยาลัย สำรวจความคิดเห็น และเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และนิสิตศึกษาเกี่ยวกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาที่จัดในมหาวิทยาลัย สมมติฐานการวิจัย สมมติฐานของการวิจัยนี้คือ อาจารย์และนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเดียวกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาแตกต่างกัน อาจารย์และนิสิตนักศึกษาทั้ง 8 มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาแตกต่างกันอาจารย์ทั้ง 8 มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาไม่แตกต่างกันและนิสิตนักศึกษาทั้ง 8 มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาไม่แตกต่างกันวิธีดำเนินการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยมีดังนี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรจากมหาวิทยาลัย 8 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร และมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างประชากรออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ให้การสัมภาษณ์และผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ให้การสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษา จำนวนมหาวิทยาลัยละ 3 คนรวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 24 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อาจารย์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษา จำนวน 213 คน และนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 จำนวน 737 คนเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล 3 แบบ คือ การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ ได้ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถามได้ใช้วิธีหาค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที (T-test) และค่า ANOVA (F-test) สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เกี่ยวกับลักษณะขอบข่ายของงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นพบว่ามี 3 ประเภทด้วยกันคือ งานกิจกรรมนิสิตนักศึกษา งานบริการและสวัสดิการนิสิตนักศึกษา และงานวินัยนิสิตนักศึกษา ในด้านกิจกรรมนิสิตนักศึกษานั้นประกอบด้วยกิจกรรมหลายอย่าง อาทิเช่น กิจกรรมทางด้านบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ กิจกรรมทางด้านกีฬา และกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม ในด้านบริการและสวัสดิการนั้นมีขอบข่ายกว้างขวางมากและเป็นงานของหลายหน่วยงาน เช่น กองกิจการนิสิตนักศึกษา กองบริการการศึกษา ฝ่ายทะเบียนกลาง เป็นต้น ส่วนในด้านงานวินัยนิสิตนักศึกษานั้นมีลักษณะและขอบข่ายเกี่ยวกับการทำทะเบียนประวัติ การสอบสวนหาผู้กระทำผิด และการส่งเสริมความรู้ความประพฤติ เป็นต้น 2. ปัญหาที่พบในการดำเนินงานบุคลากรนิสิตนักศึกษา พบว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ปัญหาจากระบบบริหาร ปัญหาจากอาจารย์ และปัญหาจากนิสิตนักศึกษา 3. จากการทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ พบว่าอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเดียวกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาไม่แตกต่างกัน อาจารย์และนิสิตนักศึกษาทั้ง 8 มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาแตกต่างกัน อาจารย์ทั้ง 8 มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาแตกต่างกันเพียงด้านเดียวจาก 3 ด้าน คือ ด้านบริการและสวัสดิการนิสิตนักศึกษา และนิสิตนักศึกษาทั้ง 8 มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นแตกต่าง 4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของงานบุคลากรนิสิตนักศึกษานั้น อาจารย์และนิสิตนักศึกษาทั้ง 8 มหาวิทยาลัย เห็นว่าอยู่ในระดับสำคัญมาก และสำคัญปานกลางส่วนข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการนิสิตนักศึกษาตามวิถีทางประชาธิปไตย (ด้านกิจกรรมนิสิตนักศึกษา) 5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและคุณภาพของงานบุคลากรนิสิตนักศึกษานั้นนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าอยู่ในระดับจัดได้เกือบดี มีเพียงบางข้อที่อยู่ในระดับจัดได้ดีและจัดได้ไม่ดี ข้อเสนอแนะของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะว่า มหาวิทยาลัยทั้ง 8 แห่ง ควรจะมีการพิจารณาและให้ความสำคัญแก่งานบุคลากรนิสิตนักศึกษาทั้ง 3 ประเภท คือ งานกิจกรรมนิสิตนักศึกษา งานบริการและสวัสดิการนิสิตนักศึกษา และงานวินัยนิสิตนักศึกษา เช่น ใน ด้านกิจกรรมนิสิตนักศึกษาควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมการนิสิตนักศึกษาตามวิถีทางประชาธิปไตย และควรมีการปรับปรุงกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมและการประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวในกิจกรรมต่างๆ ให้ทั้งอาจารย์และนิสิตนักศึกษาทราบ ด้านบริการและสวัสดิการ ควรมีการปรับปรุงบริการหางานแก่นิสิตนักศึกษา บริการหอพักและจัดที่พักอาศัยและบริการแนะแนวในบางมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพดีขึ้น ส่วนด้านวินัยนิสิตนักศึกษานั้นควรมีการทบทวนระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และมีหน่วยพัฒนานิสิตนักศึกษาขึ้น
Other Abstract: Purpose of the Study The purpose of this study was: 1. To study characteristics and areas of student personnel work in universities; 2. To investigate instructor and student opinions concern¬ing student personnel work in universities; 3. To compare the opinions of instructors and students, concerning student personnel work in universities. Hypotheses 1. There is a difference in the opinions of instructors and students from the same university concerning student personnel work in a university; 2. There is a difference in the opinions of the instructors and the students concerning student personnel work in the eight universities surveyed; 3. There is no difference in the opinions of the instructors of the eight universities surveyed concerning student personnel work in universities; 4. There is no difference in the opinions of the students of the eight universities surveyed concerning student personnel work in universities. Procedures Subjects for this study were selected from eight universi¬ties: Chulalongkorn University, Kasetsart University, Khonkaen University, Chiang Mai University, Thummasart University, Mahidol University, Srinakarinwirot University at Prasarnmit and Silpakorn University. Subjects were divided into two types: 1. Those who were interviewed, i.e. twenty four administra¬tors and student personnel work people; three persons were selected from each university. 2. Those who were asked to answer a questionnaire i.e. instructors involved in student personnel work for a total of 213, and students from the second up to the fourth year for a total of 737. This study is based on an analysis of data gathered from three sources: documents, interviews and questionnaires. Documents and interviews were analyzed by using content analysis; data from questionnaires were analyzed by using percentages, means, standard deviations, t-test and ANOVA (F-test) to test statistical significance of differences. Research Conclusions 1. Characteristics and work areas of student personnel work in universities fall into three types: student activities; student welfare and services; and student discipline. There were many activities in student activities: for example:- public welfare activities; sport activities and cultural activities. Student welfare and services cover a broad area and involve many agencies; e.g. the Student Activities Division, Student Services Division, and the Central registrar. As for student discipline, it is con¬cerned with compiling student personnel data, with investigating violations of rules by the students; and fostering among students knowledge and good conduct. 2. Problems in student personnel work fall into three types: administration problems, instructor problems and student problems. 3. In testing the hypothesis set up for this research it was found that: there was no difference in the opinions of the students and of the instructors from the same university; instruc¬tors and students of the eight universities had differences of opinions; the instructors of the eight universities had differences opinions on student personnel work only in one area i.e. student welfare and services; students of the eight universities had different opinions. 4. Concerning the importance of student personnel work the students and the instructors of the eight universities gave ranking at the high and medium level. The highest ranking was for the item on electing the committee of the student union in a democratic way (student activities). 5. As for the situation and the quality of works, the majority of students' gave a ranking at the rather high level. There were some items where the ranking was at the very high level and low level. Recommendations On the basis of this research it is recommended that the eight universities should consider. and give importance to student personnel work in the three areas of student activities, student welfare and services and student discipline. For student activities the importance of electing officers according to a democratic model should be given importance. Student cultural activities should be improved. Information should be disseminated among instructors and students on activities and happenings within the university. Services to facilitate job placements should be offered to the students. Likewise, facilities for residence halls and for housing should be provided along with services to improve the quality of life. As for student discipline, university rules and regulations should be revised and a student development center should be established.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17634
ISBN: 9745608769
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Laoong_Va_front.pdf490.61 kBAdobe PDFView/Open
Laoong_Va_ch1.pdf395.31 kBAdobe PDFView/Open
Laoong_Va_ch2.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Laoong_Va_ch3.pdf338.19 kBAdobe PDFView/Open
Laoong_Va_ch4.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Laoong_Va_ch5.pdf742.7 kBAdobe PDFView/Open
Laoong_Va_back.pdf919.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.