Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1806
Title: | การเดินสำรวจออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Ground survey for issuing land titles according to section 58 bis of the Land Code, 1954 |
Authors: | อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ ไพโรจน์ โลกนิยม วนิดา พรไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมป่าไม้. กองนิติการ |
Subjects: | การถือครองที่ดิน กฎหมายที่ดิน |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ตามมาตรา 58 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 เป็นวิธีการที่รัฐออกหนังสือแสดงสิทธิในทีดินให้กับราษฎีผู้ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แต่มีการแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายให้ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับและไม่มีหนังสือแสดงสิทธิ ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กลายเป็นการจัดที่ดินให้กับผู้ที่เข้าครองครองทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนให้กับรัฐและไม่ต้องคัดเลือกคุณสมบัติ ส่งผลกระทบกับทรัพยากรป่าไม้และการจัดที่ดินให้กับเกษตรกรตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน และทำให้ราษฎรได้รับสิทธิในที่ดินที่แตกต่างกัน การวิจัยพบว่าปัญหาของการเดินสำรวจออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของกรมที่ดิน เกิดจากความต้องการเร่งรัดการดำเนินงานให้เสร็จในเวลาที่รวดเร็วจึงปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นความเร่งรีบทำให้มีการเดินสำรวจล้ำแนวเขตป่าไม้จนกลายเป็นปัญหาระหว่างหน่วยงานและความไม่มั่นคงของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจำนวนมาก คณะผู้วิจัยเสนอว่าควรเร่งรัดจำแนกประเภทที่ดินตามความเหมาะสมแล้วเดินสำรวจออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่จำแนกเพื่อเศรษฐกิจ การเดินสำรวจออกหนังสือแสดงสิทธิในทีดินต่อไปควรต้องปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ กำหนดเงื่อนไขในการจัดที่ดินให้แก่บุคคลตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (2) และ (3) ให้เหมาะสมทั้งขนาดของที่ดิน ระยะเวลาการครอบครองที่ดิน และค่าตอบแทนที่ต้องเสียให้กับรัฐ ควรจะต้องมีการสำรวจจำนวนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินทีออกโดยมิชอบ และเร่งเพิกถอนหรือหาแนวทางแก้ไขที่สามารถยุติปัญหาความไม่มั่นคงแห่งสิทธิให้ได้อย่างชัดเจน ควรปรับปรุงระบบการจัดการทรัพยากรที่ดิน และจัดให้ภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าที่เหมาะสม และควรพิจารณาออกกฎหมายรับรองสิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญ |
Other Abstract: | Ground surveys for purpose of issuing land titles or to confirm that a parcels of land have been used according to Section 58 of the Land Code, 1954 is a procedure whereby the State issues an official document endorsing the legal rights of the holders who have occupied and utilized the land prior to the enactment of the Land Code. Some modifications have been made however, to include those who have occupied and utilized the land after the enactment of the Land Code who have no documents to claim rights. Such modifications have created a situation whereby administrative and management costs are provided by the State for issuing land documents to beneficiaries. These beneficiaries not only do not have to incur any private costs, but they may not necessarily have the qualifications to entitle them with the opportunity to acquire amount of land. Such provisions create risks to remaining stock of forest resources and many also have reprecussions on the land reform activities by creating differential treatment and status among the beneficiaries of these policies. The underlying problem originates from the intention of the implementing agency to expedite the process of land titling. The National Land Allocation Committee, acting in compliance with this motive has modified the regulatory framework to the extent that original intention of the law has been overlooked. Morever, the accelerated pace of work has resulted in situations where ground surveys for issuing land titles take place within the boundary of the forest areas, an outcome which have become one of the roots of conflicts among concerned agencies pre-condiontings for creating the uncertainty over conditions and status of the holders of the land documents. The above findings led to the conclusions that emphasis should be placed on completing land use classification and zoning for issuing legal documents for land allocated for economic uses. For ground surveys, National Land Committee have to adjust the regulation by setting conditions for land allocation for individuals under Section 58 (2) and (3) taking into account the size of land holding, the peroid of land occupation and fees to pay for the services. Equally improtant is the need to review land documents already issued where there are uncertainties over the legality of claims. Where cross-examination of land rights do not confirm legitimacy of claims, the title issed should be reclaimed. SUch are the measures deemed to be necessary instruments to eliminate uncertainty of rights. Land resources management should be modified to include measures such as progressive land tax. Careful review shoul be made over the need to endorse community rights to land to ensure consistency with the Constitution of the Kingdom of Thailand 1997. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1806 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Law - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Groundsurvey.pdf | 12.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.