Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19056
Title: การแสวงหาข่าวสาร ความคาดหวัง และความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของเยาวชนไทย
Other Titles: Information "Seeking" expectation and "Satisfaction from participation" in Vipassana meditation workshop among Thai teenagers
Authors: กุลพิพิทย์ มินตาซอ
Advisors: อวยพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Uayporn.P@chula.ac.th
Subjects: วิปัสสนา
เยาวชน
พุทธศาสนา
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประส่งเพื่อศึกษาการแสวงหาข่าวสาร ระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข่าวสาร ความคาดหวัง ความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข่าวสารกับความพึงพอใจ และความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังกับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของเยาวชนไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t – test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมี การแสวงหาข่าวสารในระดับปานกลาง มีความคาดหวังต่อการเข้าร่วมปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานใน ระดับมาก และความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของกลุ่มเยาวชนไทย มีระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1. ความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของกลุ่มเยาวชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายรับเฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ สถานที่วิปัสสนากรรมฐานแตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของกลุ่มเยาวชนที่มีอายุแตกต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. การแสวงหาข่าวสารโดยรวม มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังต่อการเข้าร่วมวิปัสสนากรรมฐานของกลุ่มเยาวชนไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 4. การแสวงหาข่าวสารโดยรวม มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมวิปัสสนากรรมฐานของกลุ่มเยาวชนไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 5. ความคาดหวังต่อการเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมวิปัสสนากรรมฐานของกลุ่มเยาวชนไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
Other Abstract: This research aims to study the information seeking process, expectation levels and satisfaction levels of individuals who have participated in insight meditation (vipassana meditation). Emphasis is given on studying the relationship between the demography and satisfaction levels, the relationship between the information seeking process and expectation levels, the relationship between the information seeking process and satisfaction levels and the relationship between expectation levels and satisfaction levels of Thai youths who have participated in insight meditation. The sample study group consists of 400 individuals and data was obtained via questionnaires. The following data analysis methods were employed in the study: enumeration, frequency, percentage, t-test average values, variance analysis using ANOVA and Pearson’s product moment correlation coefficient. Data analysis was carried out using the statistic package program for Windows platform.Results . Analysis of data obtained from the sample study group revealed that there is an intermediate level of information seeking, a high level of expectation before participation in insight meditation and a high level of satisfaction by Thai youths after participation in insight meditation. Hypothesis test results 1. There are no differences in the satisfaction levels of youths who participated in insight meditation despite the differences in the sample study group’s age, education, monthly income, occupation and location of where they participated in insight meditation.2. Regarding the satisfaction levels after participating in insight meditation, there is a difference in statistical significance of 0.01 of youths who differ in age. 3. There is a statistical significance of 0.001 in the relationship between the information seeking process and expectation levels in participating in insight meditation by Thai youths. 4. There is a statistical significance of 0.001 in the relationship between the information seeking process and the satisfaction levels in participating in insight meditation by Thai youths.5. There is a statistical significance of 0.001 in the relationship between expectation levels before participating in insight meditation and satisfaction levels after participating in insight meditation by Thai youths.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19056
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1773
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1773
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunphiphit_mi.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.