Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19160
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปารเมศ ชุติมา-
dc.contributor.authorไกรกุล ลิกขะไชย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-19T04:56:04Z-
dc.date.available2012-04-19T04:56:04Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19160-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการลดของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ส่วน 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงงานตัวอย่าง พบว่าจำนวนของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น 11.41% คิดเป็นสัดส่วนที่มาจากกระบวนการพิมพ์ถึง 69.65% เมื่อวิเคราะห์เจาะจงลงไปพบว่าของเสียส่วนใหญ่มาจาก 4 ประเภทหลัก ๆ คือ สีพิมพ์เพี้ยน-ไม่สม่ำเสมอ สีพิมพ์สกปรก คราบขี้หมึก และคราบซับหลัง โดยพิจารณาเลือกเครื่องพิมพ์ในกลุ่ม 4 สี และพบว่าผลิตภัณฑ์ B ในกลุ่มบรรจุภัณฑ์อาหาร มีอัตราการเติบโตในระดับที่สูงพร้อม ๆ กับปริมาณของเสียที่สูงตามไปด้วย เมื่อนำข้อมูลปัญหาสีพิมพ์เพี้ยนมาพิจารณาพบว่าดัชนีความสามารถของกระบวนการค่า (ความเปรียบต่างสี) อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี ควรนำมาปรับปรุง 2) ดำเนินการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา ประกอบไปด้วยการคัดเลือกตัวแปรวัดปัจจัยป้อนเข้าโดยใช้ แผนผังก้างปลา ตารางสาเหตุและผล เชื่อมโยงเพื่อหาความรุนแรงของปัญหาด้วย FMEA ตลอดจนวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของระบบการวัด 3) ดำเนินการวิเคราะห์และปรับปรุง โดยทำการทดสอบสมมติฐานของตัวแปร จากปัจจัยที่ผ่านการคัดเลือก 4 ปัจจัย พบว่าทุกปัจจัยมีผลต่อค่าความเปรียบต่างสี จากนั้นนำมาออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลแบบ 2[superscript k] โดยเพิ่มจุดศูนย์กลาง 3 จุด ทดลองซ้ำ 2 Replicate เพื่อหาอิทธิพลของตัวแปร พบว่ามีเพียง 2 ปัจจัยคือ อุณหภูมิน้ำยาทำชื้นและอัตราส่วนแอลกอฮอล์ในน้ำยาทำชื้น (%IPA) มีผลค่อค่าความเปรียบต่างสี โดยรูปแบบของการทดลองนี้มีลักษณะเป็นส่วนโค้ง (Curvature) จึงทำการออกแบบการทดลองพื้นผิวผลตอบเพิ่มเติมเพื่อหาระดับปัจจัยที่เหมาะสมของทั้ง 2 ปัจจัย และเพื่อเป็นการยืนยันผลการทดลองจึงใช้หลักการทางสถิติ (One Sample T-Test) ทดสอบ พบว่าสามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตได้จริง จากนั้นดำเนินการจัดทำแผนเพื่อควบคุมกระบวนการต่อไป จากข้อมูลหลังการปรับปรุงพบว่าความสามารถของกระบวนการของค่าความเปรียบต่างสีอยู่ในระดับที่สูงขึ้นอยู่ในระดับที่พอใช้ถึงดีและจากการกำหนดมาตรฐานปัจจัยการผลิตรวมถึงแผนควบคุมการผลิตทำให้สามารถลดจำนวนของเสียจากเดิม 11.41% เหลือเพียง 5.90%en
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to reduce defect loss in the corrugated paper boxes manufacturing process. In it consists of 3 phases which 1) Define phase : to define problem , objective and scope. Defect in the printing is a major of all defect we scope in the 4 color of printing machine. After analysis statistic data, process capability of process color in offset printing system which is bad criteria. 2) Measuring phase is to define key process input are list by cause and effect diagram, cause and effect matrix and FMEA and analyze the precision of measurement system is Spectrophotometer is acceptance. 3) Analyze and improving phase is to use Design of Experiment (DOE) 2[superscript k] 3 centerpoint with 2 replicate to analyze interested key input variable. The interested variable is effect to the print contrast is 2 variable is Dampening temperature and Ratio of Isopropyl Alcohol in dampening solution. Because the design is a curvature (quadratic model) then design the experiment by use response surface methodology (RSM) to find the optimized level of 2 variables. The experiment result can increase process capability of print contrast. The confirm experiment is run in mean and can apply in real process. After control process by the control plan and standard adjustment. The data of process capability after improving the process is between fair to good criteria level include the control plan action it can reduce a defect from 11.41 to 5.90% of all defect.en
dc.format.extent3312630 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1096-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการควบคุมกระบวนการผลิตen
dc.subjectการควบคุมคุณภาพen
dc.subjectอุตสาหกรรมกล่องกระดาษ -- การควบคุมคุณภาพen
dc.titleการวิเคราะห์และลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษen
dc.title.alternativeDefect analysis and loss reduction in corrugated paper box board processen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorcparames@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1096-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kraiku_li.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.