Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19477
Title: การแสวงหาค่าเช่ากับความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทย
Other Titles: Rent seeking and political conflict in Thailand
Authors: แบ๊งค์ งามอรุณโชติ
Advisors: สมประวิณ มันประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Somprawin.M@Chula.ac.th
Subjects: เศรษฐศาสตร์การเมือง
ค่าเช่า
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- 2540-2553
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความขัดแย้ง และ ความรุนแรงทางการเมือง ในระหว่าง พ.ศ.2540-2553 โดยอาศัยกรอบแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์ในเรื่องการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Rentseeking) และ การปกป้องค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Rent protection) เป็นทฤษฎีหลักในการอธิบาย ผลการศึกษา พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อาทิ การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 และ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อาทิ การเกิดรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ได้ส่งผลให้เกิดการโยกย้ายพลังอำนาจทางการเมือง และ เศรษฐกิจ จากกลุ่มทุนเก่า อาทิ กลุ่มทุนธนาคาร และ กลุ่มทุนสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสู่กลุ่มทุนการเมืองชินวัตร และ เครือข่าย ซึ่งทำให้ ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ถูกโอนย้ายตามไปด้วยทั้งนี้ ค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนการเมือง ชินวัตร มีขนาดสูงขึ้นเป็นลำดับ ภายหลังจาก พ.ศ. 2544 กลับกัน ขนาดค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนเก่า กลับมีส่วนแบ่งน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับขนาดค่าเช่าทางเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้ง เสถียรภาพทางการเมือง ยังมีความผกผันกับ การกระจุกตัวของค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่อยู่กับกลุ่มทุนการเมืองชินวัตร ดังนั้น งานศึกษานี้จึงสรุปว่า การแย่งชิงค่าเช่าทางเศรษฐกิจน่าที่จะเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนการรัฐประหาร และ เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในเวลาต่อมาผลการศึกษา ยังชี้อีกว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการ แย่งชิงส่วนเกินทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่ม เศรษฐกิจการเมืองนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดย ประชาชนจำนวนมากซึ่งเคยได้รับ ประโยชน์จากชุดนโยบายประชานิยม ซึ่งถือเป็นลักษณะหนึ่งของค่าเช่าจากการกระจายใหม่(Redistributive rent) ได้ออกมาเรียกร้องทางการเมือง ผนวกกับกลุ่มอุดมการณ์ที่ต่อต้านเผด็จการทหาร ได้เข้ามา มีส่วนด้วย ยิ่งส่งผลให้ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นข้อสรุปผลการศึกษานำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในเรื่องของการ เพิ่มต้นทุนในการแสวงหาค่าเช่าทาง เศรษฐกิจ เพื่อที่จะลด การแสวงหาค่าเช่าของผู้มีอำนาจรัฐ และเปิดพื้นที่การแข่งขันจากกลุ่มทุนที่อยู่นอกอำนาจรัฐ ให้สามารถแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควรที่จะสนับสนุนให้เกิด กลุ่มทุนที่พึ่งพิงค่าเช่านวัตกรรม(Schumpeterian rent) ซึ่งสามารถสร้างค่าเช่าทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงอำนาจรัฐเพียงอย่างเดียว โดยหวังว่า การพัฒนาของกลุ่มทุนนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ ความขัดแย้งในการเข้าสู่อำนาจรัฐเพื่อผูกขาดค่าเช่าลดลงได้ในระยะยาวเช่นเดียวกัน
Other Abstract: This research aims to analyze political conflict in Thailand from 1997-2010 within the economic frameworks of rent seeking and rent protection.The results show that both economic and political changes such as economic crisis and the establishment of the new constitution in 1997 had an impact on the transfer of political and economic power. In particular, the changes lead to a transfer of Economic rent from the old interest group to the Shinawatra interest group and its network.As a result, Economic rent accumulated by the Shinawatra’s interest group becomes significantly higher than that accumulated by other interest groups. Moreover, there is a negative correlation between the inequality of Economic rent distribution and the political stability. Driven by these facts, this research interprets monopoly rent seeking of the Shinawatra’s interest group as a main reason that lead to worsen political situation and coup in 19 September 2006. After the coup on 19 September 2006, both people who gain from the populism policy [redistributive rent] and who are anti-military intervention marched against the government. This can be identified as a vertical rent seeking conflict between people who lost their rent from the coup and the government which was intervened by the military. The conflicts became more complicated and involve new issues of conflict such as an ideological conflict. The results lead to 2 major policy recommendations. First, setting system of rent seeking control. Especially for monopoly rent seeking behavior which could cause a high conflict between economic and political groups. Second, Promoting Schumpeterian rent. This solution will create and support economic groups whose profit comes from the non-government’s authority. If firms do not seek rent from the government’s authority, they have no incentive to compete against each other.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19477
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1754
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1754
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
bank_ng.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.