Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19574
Title: ปัจจัยจิตสำนึกท้องถิ่นที่มีผลต่อการใช้บริการสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นของประชาชนภายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Locality consciousness factors on using local cable TV in Muang district, Nakonratchasima province
Authors: กุลภัสสร์ กาญจนภรางกูร
Advisors: สุธี พลพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sutee.P@Chula.ac.th
Subjects: โทรทัศน์ตามสาย -- ไทย -- นครราชสีมา
การเปิดรับสื่อมวลชน -- ไทย -- นครราชสีมา
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจิตสำนึกท้องถิ่นในการเลือกใช้บริการสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่น เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่มีผลต่อตัวผู้ชม ชุมชน และสังคมท้องถิ่น และเพื่อศึกษาความคาดหวังในการที่จะพัฒนาสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นให้กลายเป็นสื่อโทรทัศน์ประจำท้องถิ่นในอนาคต โดยการใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้คือ การใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิเคราะห์เนื้อหา รูปแบบของรายการเพื่อค้นหาเอกลักษณ์ความเป็นท้องถิ่น โดยอาศัยแนวคิดเรื่องการเปิดรับสื่อของผู้รับสาร แนวคิดเรื่องท้องถิ่นนิยม และ แนวคิดเรื่องความคาดหวัง เพื่อเป็นกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมุ่งศึกษาจากผู้ใช้บริการเคเบิลทีวีท้องถิ่นภายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาเป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจิตสำ นึกท้องถิ่นที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่น คือ กลัวการตกข่าว และกลัวการขาดความน่าเชื่อจากกลุ่มคนท้องถิ่นด้วยกัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประชาชนได้ใช้บริการสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นและรับชมรายการของทางบริษัทมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว การได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจากการรับชมรายการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนตัดสินใจเลือกใช้บริการ สื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นต่อไป ในขณะที่ระยะแรกในการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นนั้นเกิดจากความ ต้องการในการรับชมโทรทัศน์ของผู้ใช้บริการและการแก้ไขปัญหาสัญญาณภาพเบื้องต้น ในส่วนของความคิดเห็นของ ประชาชนที่มีต่อสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นพบว่า มีประโยชน์ในเรื่องของการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชนในท้องถิ่นด้วยกัน ทำให้ โครงสร้างความสัมพันธ์แต่ละชุมชนที่มีอยู่ในท้องถิ่นมีความแน่นแฟ้นกันมากขึ้น อีกทั้งมีการปลูกฝังเอกลักษณ์ ประเพณีและ วัฒนธรรมของคนท้องถิ่นนครราชสีมา ผ่านทางเนื้อหาและรูปแบบการดำเนินรายการของทางบริษัท โดยผู้ใช้บริการได้ซึมซับ ความเป็นท้องถิ่นนั้นไปโดยไม่รู้ตัวในส่วนของความคาดหวังของการพัฒนาสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นให้กลายเป็นสื่อโทรทัศน์ประจำท้องถิ่น แบ่งได้เป็น 2 ประเด็นคือ ความคาดหวังของผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการสื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่น ซึ่งความคาดหวังของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการจะเน้นไปที่การปรับปรุง แก้ไขด้านการบริการที่ได้รับและรูปแบบของรายการ เป็นส่วนสำคัญ นอกจากนี้ ความคาดหวังของผู้ ให้บริการ คือ การปรับปรุงศักยภาพในการรับส่งสัญญาณที่มีความรวดเร็ว และมีความทันสมัยมากขึ้น
Other Abstract: The research aims to study about the locality consciousness factors in using local cable TV of people inside Muang District, Nakonratchasima Province and to study their opinion about local cable TV. Finally, It also aims to study about the expectation of people in developing local cable TV to standard television of local. Qualitative method is used in this research. It’s conducted by the use of a questionnaire, an in-depth interview and analyzing of TV program for searching about local uniqueness. The analyzing is based on mass media exposure of receiver theory, expectancy theory and localism theory for the conceptual framework. The finding of research show that the locality consciousness factors in using local cable TV of people are the fear of missing important local information and the fear of being unrealizable from other local people. This factor happened after they used local cable TV for a long time. However, the receiving information about news and events in their local is the part of their decision to continue using the local cable TV. The reasons why people use local cable TV desire in watching TV without advertisement and in clearer. For the study of the opinion about local cable TV, the result show that it’s important in giving local information any activity and events in local to local people.Finally, the expectancy in developing cable TV to the standard television of local can be divided 2 cases. First, the expectancy of member. They require clearer information on the amount, and types of TV programs produced by the company as well as the quality improvement of TV programs. Second, it’s the expectancy of the company that emphasizes the development of potentiality in sending and receiving rapid signal and improving services for member.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19574
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1807
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1807
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kunlapat_ka.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.