Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19907
Title: รูปแบบและปัจจัยเชิงพื้นที่ที่มีผลต่อการโจรกรรมรถยนต์ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Patterns and spatial factors inducing car thift in Bangkok
Authors: พันษา อมราพิทักษ์
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Daranee.T@Chula.ac.th
Subjects: โจรกรรมรถยนต์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่อง “รูปแบบ และปัจจัยเชิงพื้นที่ที่มีผลการโจรกรรมรถยนต์” เป็นการศึกษาในรูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงรูปแบบการโจรกรรมรถยนต์ อันได้แก่รูปแบบการโจรกรรม วิธีการโจรกรรม วิธีการหลบหนีการจับกุม วิธีการขนย้าย และเส้นทางที่ใช้ วิธีการดำเนินการกับรถยนต์ที่ได้มา รวมไปถึงการหาตลาดและการจำหน่าย เพื่อศึกษาลักษณะหรือปัจจัยต่างๆของพื้นที่ที่มีผลต่อการโจรกรรมรถยนต์ ในพื้นที่ที่ศึกษา ได้แก่ ความหนาแน่นประชากร แหล่งเสื่อมโทรม แหล่งอบายมุข การพัฒนาเส้นทางการคมนาคม และด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินไร้ระเบียบ และเพื่อเสนอแนวทางในการป้องกัน และมาตรการแก้ไขปัญหาการโจรกรรมรถยนต์ในพื้นที่ที่ทำการศึกษา จากการศึกษารูปแบบการโจรกรรมรถยนต์ พบว่าคนร้ายส่วนใหญ่เลือกโจรกรรมรถยนต์ที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน และเลือกโจรกรรมช่วงเวลา 23.00 น. – 05.00 น.มากที่สุด โดยใช้วิธีการหลบหนีการจับกุมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยการศึกษาเส้นทางที่ใช้โจรกรรมล่วงหน้า ส่วนเส้นทางการขนย้าย และลำเลียงรถยนต์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างคนร้ายที่โจรกรรมจะใช้เส้นทางแบ่งออกเป็น 3 เส้นทางหลัก คือ เส้นสุวินทวงศ์ไปฉะเชิงเทรา เส้นพหลโยธินไปสระบุรี และเส้นวงแหวนรอบนอกตะวันตกไปนนทบุรี วิธีการดำเนินการกับรถยนต์หลังโจรกรรม พบว่ากลุ่มตัวอย่างคนร้ายส่วนใหญ่ จะนำรถยนต์ที่โจรกรรมไปขายต่อทั้งคันมากเป็นอันดับแรก การหาตลาดและจำหน่าย คนร้ายจะนิยมนำรถยนต์ที่โจรกรรมไปขายในตลาดในประเทศ มากกว่าตลาดต่างประเทศ พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโจรกรรมรถยนต์ ในพื้นที่ศึกษาพบว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโจรกรรมในย่านพาณิชยกรรมบริเวณศูนย์กลางชุมชนมีมากที่สุด เขตในเมือง ปัจจัยด้านการเข้าถึงเส้นทางคมนาคมและปัจจัยด้านจำนวนและความหนาแน่นของประชากร มีผลต่อการเกิดโจรกรรมมากที่สุด เขตต่อเมืองปัจจัยด้านจำนวนและความหนาแน่นประชากร และการเข้าถึงเส้นทางคมนาคมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโจรกรรมมากที่สุด และเขตชานเมือง ปัจจัยด้านจำนวนและความหนาแน่นประชากร และการเข้าถึงเส้นทางคมนาคมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโจรกรรมมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไร้ระเบียบ ข้อจำกัดในการปราบปรามปัญหาโจรกรรมรถยนต์ อันดับแรกเป็นข้อจำกัดเรื่อง ของอัตราค่าตอบแทนที่สูงจากการโจรกรรม รองลงมาคือ ความอ่อนแอของกฎหมาย และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ข้อจำกัดที่ส่งผลให้พื้นที่มีความเสี่ยงต่อการโจรกรรม อันดับแรกคือ พื้นที่ที่มีลักษณะเสี่ยง รองลงมาคือ สภาพแวดล้อมของพื้นที่เสี่ยง และจำนวนประชากร แนวทางการป้องกัน และการแก้ไขปัญหาการโจรกรรมรถยนต์ อันดับแรกคือ ควรประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา รองลงมาคือ เพิ่มกฎหมายและอัตราการลงโทษให้สูง และเพิ่มกฏระเบียบการโอนรถ หรือจดทะเบียนรถให้มากขึ้น แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาของพื้นที่เสี่ยงต่อการโจรกรรม อันดับแรกคือ ควรตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด และตรวจสอบในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเสี่ยง รองลงมาคือ จัดระบบความรักษาความปลอดภัยให้เข้มงวด และเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจ
Other Abstract: This study was conducted as qualitative research and its objectives are to examine the patterns of car theft including methods in stealing cars, techniques for escaping the police, ways to transport the stolen cars and the directions used, methods to manage the stolen cars, selling methods, and finding markets for the stolen cars; to study the characteristics or spatial factors that contribute to car theft including population density, dilapidated areas, entertainment establishment areas, transportation development, and disordered use of land: and to find ways to prevent and solve the problem. The findings show that most car thieves chose to steal cars with no anti-theft device and committed car theft during 11.00pm to 05.00am. The directions and ways to escape the police were planed before committing car theft. According to the sampled offenders, there were three main directions for transporting the stolen cars including; first the way starting from Suwinthavong Road to Chacherngchoa, secondly, the way beginning at the Phaholyothin Road to Sraburi, thirdly, the direction that starts from the western Outer Ring Road to Nontaburi. Most of the stolen cars were sold as a whole car in the domestic markets rather than in the markets of other countries. Furthermore, the findings also present that the most risky areas to car theft were the business zones in the urban areas of Bangkok. The transportation development and population and its density mostly affect the car theft rate in the urban areas. In the outer-urban areas population and its density and the development of transportation mostly contribute to the car theft rate. Similarly, population and its density and the development of transportation mostly affect the car theft rate in the suburban areas, following by the disordered use of land. The three limitations in solving car theft are the high amount of money for reward and the weakness of laws as well as the economic problem. Moreover, the limitations, in term of the spatial factors, include geographical car theft-risky areas, environments in the car theft-risky areas, and high population. The ways to prevent and solve this problem are; first, people should be informed and acknowledged the importance and seriousness of this problem, secondly, the laws related to car theft and the sanctions should be strengthened and improved such as increasing the penalty for car thieves and imposing more strict process for car transfer and car registration.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19907
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.316
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.316
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phansa_Am.pdf23.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.