Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20279
Title: ผลของการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจและแรงจูงใจในการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Effects of concept-oriented reading instruction on Thai reading comprehension ability and reading motivation of eights grade students
Authors: สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์
Advisors: สร้อยสน สกลรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Soison.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์กับนักเรียนที่ได้รับการสอนการอ่านแบบปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์กับนักเรียนที่ได้รับการสอนการอ่านแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสันติราษฏร์ วิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 87 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งจัดการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ จำนวน 44 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งจัดการเรียนการสอนการอ่านแบบปกติ จำนวน 43 คน ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวม 16 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ แบบสอบถามแรงจูงใจในการอ่าน และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ แผนการจัดการเรียนการสอนการอ่านแบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และทดสอบอัตราส่วนวิกฤต (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์มีความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์มีความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนการอ่านแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์มีแรงจูงใจในการอ่านสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์มีแรงจูงใจในการอ่านสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนการอ่านแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this research were to compare: 1) Thai reading comprehension ability of eighth grade students before and after they have been taught by concept-oriented reading instruction. 2) reading motivation ability of eighth grade students before and after they have been taught by concept-oriented reading instruction 3) Thai reading comprehension ability of eighth grade students taught by concept-oriented reading instruction with those taught by regular instruction. 4) reading motivation ability of eighth grade students taught by concept-oriented reading instruction with those taught by regular instruction. The participants were 87 students who were studying in eighth grade in the academic year 2010 at Santiratwittayalai School. 44 students were an experimental group recieving the concept-oriented reading instruction and 43 students were a control group recieving the regular instruction. The instruction was 8 weeks, 2 periods each week 16 periods altogether. The research instruments were a Thai reading-comprehension questionnaire and a reading-motivation questionnaire. The experimental instrument was 16 lesson plans based on the concept-oriented reading instruction model and 16 lesson plans regular. The data were analyzed by using arithmetic means ( ), standard deviation, (S), and t-test. The results were summarized as follows. 1. After recieving the concept-oriented reading instruction, students in the experimental group had significant differnces in reading compresension ability at the .05 level. 2. Students in the experimental group receiving the concept-oriented reading instruction had more significant differences in reading comprehension ability at the .05 level than those who received regular instruction. 3. After recieving the concept-oriented reading instruction, students in the experimental group had significant differnces in reading motivation at the .05 level. 4. Students in the experimental group receiving the concept-oriented reading instruction had more significant differences in reading motivation at the .05 level than those who received regular instruction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20279
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sureerat_ak.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.