Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20360
Title: การตรวจหาวัตถุเคลื่อนที่ในลำดับภาพวีดิทัศน์โดยใช้ระบบฝังตัว
Other Titles: Detection of moving objects in video sequence using an embedded system
Authors: ชัยพร ชัชวาลกิจกุล
Advisors: สุรีย์ พุ่มรินทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suree.P@Chula.ac.th
Subjects: วีดิทัศน์ -- การบันทึก
อุปกรณ์ตรวจจับ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เสนอเทคนิคการตรวจหาวัตถุเคลื่อนที่ในลำดับภาพวีดิทัศน์โดยใช้ระบบฝังตัว และเป็นเทคนิคที่ถูกออกแบบด้วยภาษา C/C++ ให้มีการทำงานร่วมกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายในระบบฝังตัว ขั้นตอนวิธีเริ่มด้วยการแบ่งภาพในเฟรมหนึ่ง ๆ เป็นแผงภาพย่อยรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ซึ่งแผงภาพเหล่านั้นจะถูกระบุเป็นแผงภาพเคลื่อนที่ หรือ แผงภาพหยุดนิ่ง จากค่าขีดเริ่มเปลี่ยนที่คำนวณได้ด้วยฮีสโทแกรมของการรวมผลต่างระหว่างเฟรมกำลังสองของแผงภาพทั้งหมดในเฟรมหนึ่งโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้นเราลดความซ้ำซ้อนในการรวมผลต่าง ด้วยการคำนวณผลต่างระหว่างเฟรมกำลังสองของแผงภาพเพียงครั้งเดียว และเราสร้างแผงภาพที่สอดคล้องกับวัตถุเคลื่อนที่ในภาพ ณ เฟรมหนึ่ง จากแผงภาพเคลื่อนที่ในอนาคตกับแผงภาพเคลื่อนที่ในอดีตที่มีตำแหน่งร่วมกัน ทำให้เราสามารถกำจัดแผงภาพที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุเคลื่อนที่ได้ พร้อมกันนี้เราลดข้อด้อยของความต่างระหว่างเฟรมที่มีต่อวิธีการลบภาพพื้นหลัง โดยการจดจำข้อมูลของวัตถุเคลื่อนที่ในเฟรม โดยสรุปการตรวจหาการเคลื่อนที่ของวัตถุในลำดับภาพวีดิทัศน์ที่เรานำเสนอสามารถประมวลผลในระบบฝังตัว สำหรับภาพที่มีขนาด 320x240 จุดภาพ พร้อมกับรายงานผลลัพธ์ผ่านเครือข่าย ด้วยการแสดงบนเว็บเบราเซอร์
Other Abstract: This thesis proposes a technique to detect moving objects in video sequence using an embedded system. The program is written in C/C++ language cooperated with transfer data via network program in embedded system. We devide an image frame into square-size blocks of image which are called image patches. There are two types of image patch: a moving image patch and an unmoving image patch. Each type of image patch is defined by a theshold which is automatically calculated from histogram of summation of square of frame difference. We can reduce a redundancy by computing the summation of square of frame difference of each patch only one time. We get a moving object by considering only the moving image patches of the previous frame that correspond to the moving image patches of the next frame. As a result, the ghost moving image is removed. Next, the location of the moving object is stored to reduce a noise degradation comparing to a background subtraction method. Finally, this technique can process a $320\times240$~pixel image and show the results in web browser.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20360
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.366
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.366
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiyaphorn_Ch.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.